สาวเสพติดน้ำอัดลม ซัดวันละ 4 ลิตร ไม่ดื่มลงแดงหนัก อึ้งจุดเริ่มต้นคือ "คำแนะนำแพทย์"

Home » สาวเสพติดน้ำอัดลม ซัดวันละ 4 ลิตร ไม่ดื่มลงแดงหนัก อึ้งจุดเริ่มต้นคือ "คำแนะนำแพทย์"
สาวเสพติดน้ำอัดลม ซัดวันละ 4 ลิตร ไม่ดื่มลงแดงหนัก อึ้งจุดเริ่มต้นคือ "คำแนะนำแพทย์"

สาวน้ำตาลในเลือดต่ำ หมอแนะดื่มน้ำหวาน สุดท้าย “เสพติด” วันละ 4 ลิตร ผลสุขภาพล่าสุดโรคเพียบ “ความหลงใหล” ของเธอกับน้ำอัดลมทำให้เธอมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มโปรดของหลายคน แต่การดื่มมากเกินไปไม่เพียงทำให้อ้วนเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปสู่การเสพติดอีกด้วย สาวสวยวัย 20 ปีในอังกฤษ ป่วยเป็นโรค “ติดน้ำอีดลม” ต้องดื่มถึง 4 ลิตรต่อวัน ไม่เช่นนั้นจะมีอาการลงแดงอย่างรุนแรง แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ เหตุผลที่เธอเริ่มดื่มโค้กคือ “คำแนะนำของแพทย์”

“นาตาชา” บล็อกเกอร์ด้านความงาม จากเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่าแพทย์แนะนำให้เธอดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพื่อจัดการกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากเธอเป็นคนไม่ค่อยทานอาหาร จึงต้องหันไปหาเครื่องดื่มแทน แต่เธอไม่เคยคาดคิดว่ามันจะทำให้เธอเสพติดน้ำอัดลม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง

“บางคนชอบทานอาหารว่าง ในขณะที่ฉันชอบดื่มทุกอย่าง ตั้งแต่ชา กาแฟ มิลค์เชค  และแน่นอนว่าน้ำอัดลมด้วย”

“ฉันได้รับคำแนะนำ (จากแพทย์) ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ดังนั้นฉันจะดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกวัน แต่ในที่สุดก็นำไปสู่การติดเครื่องดื่มเหล่านั้น”

นาตาชาเล่าด้วยว่า เมื่อลองหยุดดื่มน้ำอัดลมจะมีอาการตัวสั่น และเหงื่อออกทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว และหากหยุดดื่มครบ 24 ชั่วโมง จะมีอาการไมเกรนรุนแรง เจ็บปวดจนเดินไม่ได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการลงแดง เธอจึงยังคงต้องดื่มต่อไป แต่ผลจากการดื่มต่อมาเรื่อยๆ ก็ทำให้เธอกินอาหารยากขึ้นไปอีก และเกิดภาวะโลหิตจาง หัวใจเต้นเร็วกว่าค่ามาตรฐาน

“อัตราการเต้นของหัวใจของฉันเร็วมาก แค่เดินขึ้นบันไดก็แทบจะเป็นลมแล้ว อย่างไรก็ตาม ฉันเป็น โรคโลหิตจางอยู่แล้ว และฉันมีปัญหาในการกินอาหาร ดังนั้นฉันจึงไม่แน่ใจว่ามันจะสัมพันธ์กันหรือไม่”

นอกจากอาการทางร่างกายแล้ว การที่นาตาชาติดน้ำอัดลมอย่างหนักยังทำให้เธอต้องเสียเงินอีกด้วย ทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้าเธอต้องดื่ม 1 ขวดก่อน และดื่มมากถึง 4 ลิตรต่อวัน ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำอัดลมสูงถึงเดือนละ 90 ปอนด์ (ประมาณ 4,000 บาท) ซึ่งตลอดกว่า 4 ปีที่ผ่านมาเธอเสียเงินไปกับมันอย่างมหาศาล จึงอยากขอคำแนะนำจากผู้เคยมีประสบการณ์ “เสพติดน้ำอัดลม” ว่าควรทำอย่างไรต่อไป?

ทั้งนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทางการแพทย์อาจเกิดจากการรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแอ พูดไม่ชัด รู้สึกมึนงง และอาจทำให้เกิด อาการชัก หรือเป็นลมได้

ในขณะที่เครื่องดื่มที่โฆษณาว่า น้ำตาล 0% หรือไม่มีแคลอรี่ ฯลฯ ดูเหมือนเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ สำหรับคนชื่นชอบความสดชื่นแบบน้ำอัดลม แต่รู้หรือไม่ว่า เครื่องดื่มเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับผลข้างเคียงหลายประการ และส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะยาวและระยะสั้น

ในปีนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแนวทางแนะนำให้ประชาชน “ไม่ดื่ม” สารให้ความหวานเทียม เพราะแม้ว่าน้ำหนักตัวจะลดลงในระยะสั้น แต่อาจมีผลไม่พึงประสงค์ในระยะยาว เช่น ความเสี่ยงโรคหัวใจ และโรคเบาหวานประเภท 2 อีกทั้งการศึกษาล่าสุดยังพบด้วยว่า สารให้ความหวานเทียมที่พบในเครื่องดื่ม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ