สาวออฟฟิศวัย 30 เข้าห้องน้ำถี่ๆ ไปหาหมอชี้เป็นโรคคนแก่ พลาดที่ "ท่านั่งส้วม"

Home » สาวออฟฟิศวัย 30 เข้าห้องน้ำถี่ๆ ไปหาหมอชี้เป็นโรคคนแก่ พลาดที่ "ท่านั่งส้วม"
สาวออฟฟิศวัย 30 เข้าห้องน้ำถี่ๆ ไปหาหมอชี้เป็นโรคคนแก่ พลาดที่ "ท่านั่งส้วม"

อึ้งเป็นโรคคนแก่ สาวออฟฟิศวัย 30 เอะใจเข้าห้องน้ำถี่ๆ ไปหาหมอถึงรู้พลาดที่ “ท่านั่งส้วม”

พนักงานออฟฟิศหญิงวัย 30 ปี ในไต้หวัน มักรู้สึกว่าการปัสสาวะของเธอไม่สะอาด หลังจากไปห้องน้ำ สักพักเธอก็รู้สึกอยากไปเข้าห้องน้ำอีก อาการนี้เกิดขึ้นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกกังวลจึงตัดสินใจไปพบแพทย์

Dr.Xie Xiaoyun ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษาเคสนี้ ระบุว่า หลังจากตรวจดูแล้วพบว่าคนไข้ไม่ได้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แต่กระเพาะปัสสาวะของเธออ่อนแอและทำงานหนักเกินไป เป็นที่น่าสังเกตว่าปัญหานี้มักเกิดเฉพาะกับผู้หญิงที่มีอายุมากๆ เท่านั้น น้อยครั้งนักที่จะเห็นคนไข้อายุน้อยเช่นนี้

ลักษณะนิสัยนี้จะทำให้เกิดความตึงเครียดในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อก้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะขับปัสสาวะได้ยาก เมื่อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ถูกขับออกทั้งหมด ก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ง่าย ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะทำงานหนักเกินไป และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้

จากสถิติการวิจัยพบว่า การเข้าห้องน้ำในท่ากึ่งนั่งไม่เพียงช่วยลดอัตราการไหลของปัสสาวะประมาณ 20% แต่ยังเพิ่มปริมาณปัสสาวะที่ตกค้างอีกด้วย และมากถึงประมาณ 20% ทีเดียว ปัสสาวะที่ตกค้างนั้นสามารถเพาะเชื้อแบคทีเรีย และนำไปสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ท่ากึ่งนั่งยังทำให้ช่องอุ้งเชิงกรานหดตัวและมีการเกร็งที่บริเวณหน้าท้อง ทำให้ปัสสาวะลำบาก

หูรูดทวารหนักเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยการสร้างวาล์วระหว่างไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากนั่งในท่านั่งตรงปกติ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะผ่อนคลายเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่หากคุณนั่งยองๆ กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักจะผ่อนคลายเต็มที่ จึงสามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น นี่จึงเป็นตำแหน่งการนั่งที่ดีเมื่อท้องผูก

อย่างไรก็ตาม การออกแบบโถสุขภัณฑ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่เหมาะกับท่านั่งยองๆ ดังนั้นจึงอาจเพิ่มเก้าอี้ตัวเล็กๆ ไว้รองใต้ฝ่าเท้าให้สูงขึ้นมาจากพื้นห้องน้ำประมาณ 20 ซม. ช่วยยกเข่าขึ้นเพื่อสร้างท่านั่งขับถ่ายที่ดียิ่งขึ้น

  • นศ.ปล่อยโฮ อายุแค่ 20 เป็นมะเร็งปากมดลูก หมอชี้สาเหตุ “กระดาษชำระ” ที่เลือกใช้
  • ประตูห้องน้ำ ควรปิดหรือเปิดเมื่อไม่ใช้งาน ชีวิตประจำวันที่หลายคนยังสับสน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ