สาววัย 30 ละเลยไม่ใส่ใจสัญญาณเตือนของร่างกาย สุดช็อก รู้ตัวอักทีป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
(21 มิ.ย. 67) สื่อต่างประเทศรายงานข่าวอุทาหรณ์สาววัย 30 ปี ตรวจเจอมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ร่างกายพยายามส่งสัญญาณเตือน แต่เธอกลับละเลย เรื่องราวดังกล่าวถูกเปิดเผยโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Tran Chung Nhac หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก ที่เปิดเผยเรื่องราวของคนไข้หญิงวัย 30 ปี ที่เขาเคยทำการรักษาโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
คนไข้หญิงรายนี้เธอเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายด้วยการวิ่ง จนเมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว เธอเริ่มมีอาการหายใจถี่มากขึ้นขณะวิ่ง โดยช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเธอคิดว่าเกิดจากความอ่อนแอทางร่างกายของเธอ เธอจึงยังไม่ได้ไปพบแพทย์ แต่ทว่าอาการหายใจถี่ยังคงอยู่แม้ไม่ได้ออกกำลังกาย สามีของเธอจึงตัดสินใจพาเธอมาพบแพทย์ในที่สุด
หลังแพทย์ทำการตรวจร่างกายของเธออย่างละเอียดนั้นก็พบว่าเธอกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดในระยะลุกลาม ซึ่งนั่นทำให้สาวคนดังกล่าวและสามีรู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก และแพทย์ได้ทำการส่งเธอเข้ารับการรักษาในทันที และถือเป็นเรื่องโชคดีที่ร่างกายของเธอตอบสนองได้ดีกับยาที่ใช้รักษา ก่อนที่เวลาต่อมาเชื้อมะเร็งของเธอกลับมาอยู่ในจุดที่แพทย์สามารถควบคุมได้ จนหายดีเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามคนไข้รายนี้ยังคงต้องมาพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามอาการของโรคที่อาจกำเริบขึ้นมาได้อีก
นายแพทย์ Tran Chung Nhac ยังกล่าวอีกว่า คนไข้รายนี้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดแม้แต่น้อย เช่น ประวัติครอบครัว การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือ การสัมผัสกับสารพิษ เช่น สารหนู นิกเกิล โครเมียม และ แร่ใยหิน แต่ความเสี่ยงของโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของ DNA ในร่างกายที่อาจมีการกลายพันธุ์และเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้
โดยนักวิทยาศาสตร์จาก Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาและเผยให้เห็นว่า DNA ที่มีความผิดปกติอาจส่งผลให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้แม้คนคนนั้นจะมีสุขภาพดีและไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
นักวิทยาศาสตร์กล่าวเสริมอีกว่า มะเร็งจำ 32 ชนิดที่ได้ทำการศึกษาพบว่า 66% เซลล์มะเร็งมีการกลายพันธุ์มากจากการทำ งานที่ผิดพลาดของ DNA 29% มาจากปัจจัยแวดล้อม และอีก 5% มาจากพันธุกรรม หรือกรรมพันธุ์
ส่วนสัญญาณของโรตมะเร็งปอดนั้น นายแพทย์ Tran Chung Nhac มะเร็งปอดระยะเริ่มต้นแทบไม่มีอาการ ซึ่งกว่าที่จะมีการแสดงอาการนั้นก็เข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ตรงจุดนี้อาจทำให้กระบวนการรักษานั้นมีประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้หากร่างกายมีอาการผิดปกติ เช่น ไอเป็นเลือด ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์โดยไม่ทุเลา หายใจถี่ อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากเป็นมะเร็งจริงการตรวจพบได้เร็วก็มีโอกาสหายจากโรคได้ง่าย รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่นเดียวกัน