สาววัย 27 ติดเชื้อรุนแรงเดินไม่ไหว หมอชี้สาเหตุ "ผ้าอนามัย" เตือนผู้หญิงอย่าทำแบบนี้!

Home » สาววัย 27 ติดเชื้อรุนแรงเดินไม่ไหว หมอชี้สาเหตุ "ผ้าอนามัย" เตือนผู้หญิงอย่าทำแบบนี้!
สาววัย 27 ติดเชื้อรุนแรงเดินไม่ไหว หมอชี้สาเหตุ "ผ้าอนามัย" เตือนผู้หญิงอย่าทำแบบนี้!

หมอเจอเคสสาววัย 27 ทรมารติดโรคทางนรีเวช ปวดจนเดินแทบไม่ได้ สาเหตุจากการใช้ “ผ้าอนามัย” เตือนผู้หญิงอย่าทำแบบนี้!

เสี่ยวฟาง (นามแฝง) ผู้หญิงวัย 27 ปีจากหางโจว ระหว่างเดินทางกลับจากไปเที่ยวซินเจียง จู่ๆ รู้สึกแสบร้อนและคันบริเวณอวัยวะเพศ ตอนแรกยังไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก เพราะคิดว่าหลังจากนั่งรถไฟนานกว่า 40 ชั่วโมง บริเวณนี้จะถูกเสียดสี อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านมา 3 วัน อาการยังไม่หายไป มีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนขยับตัวเดินไม่ได้ จึงไปรักษาที่แผนกนรีเวชวิทยาของโรงพยาบาล

หลังจากที่แพทย์ทำการตรวจร่างกายของเสี่ยวฟาง พบว่าผิวหนังบริเวณส่วนล่างขวาของอวัยวะเพศของเธอมีรอยแดง บวม และมีอาการกดเจ็บอย่างเห็นได้ชัด กระทั่งในที่สุดก็วินิจฉัยว่าเป็น ซีสต์ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst)

แพทย์สรุปว่าน่าจะเกิดจากอาการะคายเคืองจากการที่ใช้ผ้าอนามัยนานเกินไป ตามคำอธิบายของเสี่ยวฟาง ปรากฎว่าบนรถไฟขากลับมีคนจำนวนมาก และสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องน้ำมีจำกัด สุดท้ายเธอจึงไม่ได้เปลี่ยนผ้าอนามัยในเวลาที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ อาการของเธอยังรุนแรงขึ้นและเธอติดเชื้อไปแล้ว เนื่องจากการติดเชื้อร้ายแรง แพทย์จึงต้องทำการผ่าตัดเพื่อทำการระบายหนองออก ซึ่งปัจจุบันรักษาหายดีและออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว

  • นศ.ปล่อยโฮ อายุแค่ 20 เป็นมะเร็งปากมดลูก หมอชี้สาเหตุ “กระดาษชำระ” ที่เลือกใช้
  • สาวมีเซ็กซ์รุนแรง เลือดออก 1,500 มล. ผู้ชายรีบชิ่งหนี เผยสถานะชัดๆ หมอฟังแล้วยังเงิบ

แพทย์กล่าวเตือนด้วยว่า ต่อมบาร์โธลินเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของสตรี ภายใต้สถานการณ์ปกติจะ “ซ่อนอยู่ลึกมาก” และไม่สามารถสัมผัสได้ แต่ซีสต์ต่อมบาร์โธลินพบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เกิดจากการใช้ผ้าอนามัยเป็นเวลานาน เมื่อเชื้อโรคบุกรุกต่อมบาร์โธลิน พวกมันอาจทำให้เกิดการอักเสบหนองเฉียบพลัน และมีหนองสะสมไม่สามารถไหลออกมาได้

อุบัติการณ์ของโรคต่อมบาร์โธลินเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาการทางคลินิกได้แก่ อาการบวม ความเจ็บปวด ความรู้สึกแสบร้อน ความไม่สะดวกในการเดิน และในกรณีที่รุนแรงคือความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ฯลฯ มันเจ็บปวดมากและจะนำมาซึ่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิต มันเป็นปัญหาใหญ่ แต่การรักษาวิถีชีวิตที่ดีสามารถลดอุบัติการณ์ได้อย่างมาก ดังนั้น ควรอาบน้ำบ่อยๆ เปลี่ยนชุดชั้นใน เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ในช่วงมีประจำเดือน และพยายามเลือกผ้าที่ระบายอากาศได้ดี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ