สาวป่วยมะเร็งตอนท้องแก่ รอดชีวิตมาได้แล้ว ลั่นจะไม่ใช้ 6 อุปกรณ์ในครัวเหล่านี้อีกเลย

Home » สาวป่วยมะเร็งตอนท้องแก่ รอดชีวิตมาได้แล้ว ลั่นจะไม่ใช้ 6 อุปกรณ์ในครัวเหล่านี้อีกเลย
สาวป่วยมะเร็งตอนท้องแก่ รอดชีวิตมาได้แล้ว ลั่นจะไม่ใช้  6 อุปกรณ์ในครัวเหล่านี้อีกเลย

สาวป่วยมะเร็งตอนท้องแก่ ฝ่ามรสุมการรักษาจนรอดชีวิตมาได้แล้ว ประกาศจะไม่ใช้  6 อุปกรณ์ในครัวเหล่านี้อีกเลย

Newsweek ได้สัมภาษณ์ ซูซานา เดอมอร์ วัย 42 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple-negative เมื่อเธอตั้งครรภ์ได้ 35 สัปดาห์ ตามข้อมูลจากสมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา มะเร็งชนิดนี้เป็นรูปแบบที่ก้าวร้าวและพบได้ประมาณ 10-15% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด เดอมอร์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส (สหรัฐฯ) ได้รับแจ้งว่าปลอดโรคเมื่อเดือนธันวาคม 2022

แต่ก่อนหน้านั้น เธอต้องเผชิญกับเส้นทางการรักษาที่หนักหน่วง ขณะตั้งครรภ์ เธอซึ่งเป็นนักกายภาพบำบัด ต้องเข้ารับเคมีบำบัดก่อนคลอดลูกก่อนกำหนด 4 สัปดาห์ จากนั้น เธอยังคงเข้ารับการรักษา แต่เมื่อก้อนเนื้องอกเติบโตขึ้นอีก เธอจึงต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อและตัดเต้านมออก

เธอผ่านการฉายรังสีเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทดลองใช้เคมีบำบัดชนิดรับประทาน แต่ต้องหยุดเนื่องจากมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ 7 เดือนต่อมา เธอเข้ารับการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ด้วยวิธี DIEP flap ใช้เวลานานถึง 12 ชั่วโมง ตามมาด้วยช่วงพักฟื้นที่ยาวนานและต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม รวมระยะเวลาการรักษาทั้งหมด 2 ปีครึ่ง

6 อุปกรณ์ครัวที่เธอไม่ใช้และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

1. ถาดอบและกระทะเคลือบสารกันติด

เดอมอร์เปลี่ยนไปใช้สแตนเลสแทน ตามข้อมูลของสมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐฯ เครื่องครัวเคลือบสารกันติดอาจมีสาร PFAS ซึ่งถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1940 เพราะทนต่อน้ำมัน น้ำ ความร้อน และคราบเปื้อน

แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) จะระบุว่าสารเหล่านี้มีพันธะที่แข็งแรงและมีโอกาสถ่ายเทสู่ร่างกายต่ำ แต่งานวิจัยบางชิ้นพบว่าการสัมผัส PFOA อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งอัณฑะ ไต และไทรอยด์ รวมถึงอาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ เต้านม และรังไข่ ซึ่งยังต้องการการศึกษาต่อไป

2. สเปรย์ปรับอากาศ

งานวิจัยของ ดร.แอนน์ สไตน์มันน์ (2017) พบว่าสเปรย์ปรับอากาศปล่อยสารเคมีมากกว่า 100 ชนิด รวมถึง VOC เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน และโทลูอีน และ SVOC เช่น พทาเลต ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบประสาท หัวใจ ทางเดินหายใจ ภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ และมะเร็ง

Deziel นักวิจัยจากศูนย์มะเร็ง Yale แนะนำว่า “ไม่จำเป็นต้องเสียเงินมากมายเพื่อลดการสัมผัสสารเคมี การใช้ น้ำส้มสายชูทำความสะอาด และ เปิดหน้าต่างแทนการใช้สเปรย์ปรับอากาศ เป็นทางเลือกที่ดี”

3. เครื่องครัวและเขียงพลาสติก

ตามรายงานของ Environmental Working Group (EWG) สารเคมีในพลาสติก เช่น BPA, พทาเลต และ PVC อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง

Deziel นักวิจัยจากศูนย์มะเร็ง Yale เตือนว่าไม่ควรอุ่นอาหารในภาชนะพลาสติกเพราะอาจทำให้สารเคมีไหลเข้าสู่อาหาร เธอแนะนำให้ใช้ ไม้ สแตนเลส หรือแก้ว แทนเพื่อลดการสัมผัสสารเคมีและลดขยะพลาสติก

อดัม เจมส์ พอลล็อก นักเขียนด้านอาหารเผยว่า “แบคทีเรียเช่น ซัลโมเนลลาและลิสเทอเรีย สามารถอยู่รอดได้นานกว่าและเติบโตได้ง่ายบนเขียงพลาสติก ในขณะที่เขียงไม้ช่วยดูดซับและกำจัดแบคทีเรียได้เร็วกว่า”

4. ฟองน้ำล้างจานทั่วไป

Deziel นักวิจัยจากศูนย์มะเร็ง Yale อธิบายว่า “ฟองน้ำทำจากวัสดุสังเคราะห์และสามารถปล่อย ไมโครพลาสติก ออกมาเมื่อเริ่มแตกตัวจากการขัดถู นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย”

5. พลาสติกแรป

องค์กร Breast Cancer Prevention Partners ระบุว่าพลาสติกมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในทุกช่วงของการใช้งาน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการกำจัด PVC (โพลีไวนิลคลอไรด์) มีส่วนประกอบของ ไวนิลคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่พบในบรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และอุปกรณ์การแพทย์

PVC สามารถปล่อยสารเคมีที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมสูงขึ้น

6. ฟอยล์อลูมิเนียม

การศึกษาปี 2019 พบว่าการใช้ฟอยล์อบอาหารอาจทำให้อาหารปนเปื้อนอลูมิเนียม โดยเฉพาะ ปลาแซลมอนหมัก ปลาแมคเคอเรล และอกเป็ด ที่มีระดับอลูมิเนียมสูงกว่าปกติถึง 40 เท่า

แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อคนส่วนใหญ่ แต่เด็กเล็กหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอาจเสี่ยงได้ องค์กรด้านสุขภาพของสหรัฐฯ เช่น DHHS และ EPA ยังไม่ได้จัดประเภทอลูมิเนียมว่าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่มันอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท กระดูก และการสร้างเม็ดเลือดได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ