สายปิ้งย่างต้องรู้! กรมอนามัย แนะวิธีกิน “หมูกระทะ” ไกลมะเร็ง และไข้หูดับ

Home » สายปิ้งย่างต้องรู้! กรมอนามัย แนะวิธีกิน “หมูกระทะ” ไกลมะเร็ง และไข้หูดับ
7หมูกระทะ

สายปิ้งย่างต้องรู้! กรมอนามัย แนะวิธีกิน “หมูกระทะ” อย่างไรให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก โรคมะเร็ง และ ไข้หูดับ ย่างให้สุกด้วยไฟ 70 องศาขึ้นไป

ก่อนหน้านี้มีประเด็นที่สร้างความวิตกให้กับกลุ่มคนที่ชอบทานอาหารจำพวกปิ้งย่างเป็นอย่างมาก เมื่อมีรายงานสาว 17 ไปกินหมูกระทะกับครอบครัว ก่อนใช้ตะเกียบคีบหมูดิบ สุดท้ายติดเชื้อ ‘ไข้หูดับ‘ ถึงขั้นโคม่า แรกเริ่มมีอาการซึม และอาเจียน ก่อนวันต่อมารู้สึกไม่สบาย วูบหมดสติไปประมาณ 30-40 วินาที พ่อเเม่รีบพาส่งรพ.เอกชนใกล้บ้าน แต่หมอไม่รับ ชี้ว่าแค่อาหารเป็นพิษ ก่อนต้องกลับมาโรงพยาบาลอีกครั้ง เพราะไข้สูง ไม่มีเเรงเดิน เล็บมือเล็บเท้า ใต้ตาคล้ำ ก่อนจะหมดสติ

หมูกระทพ

30 พ.ย. 65 เวลา 02.00 น. น้องสาวดิ้นไม่รู้สติกรีดร้อง กว่าจะจับใส่เครื่องช่วยหายใจเเละเจาะเลือดได้ต้องใช้เวลานาน จนช่วงเช้าถึงรู้ผลว่า น้องสาวติดเชื้อในกระแสเลือด หมอเจาะไขสันหลังไปตรวจพบเชื้อ “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” หรือ “ไข้หูดับ” เเม่ทำเรื่องของส่งตัวน้องไป รพ.เอกชน อีกเเห่งที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องสมอง ผลตรวจตรงกันน้องติดเชื้อไข้หูดับจริง

  • เปิดไทมไลน์ สาว 17 ใช้ตะเกียบคีบหมูดิบ ก่อนติดเชื้อ ‘ไข้หูดับ’ โคม่า

ล่าสุดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 5 วิธี กินปิ้ง – ย่าง ให้ปลอดภัย จากการแชร์ในโลกออกไลน์กินหมูกะทะแล้วคาดว่าติดเชื้อโรค “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” หรือ “ไข้หูดับ” ย้ำ ทุกเมนูอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ ควรผ่านการปรุงให้สุกอย่างทั่วถึง เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันที่อาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กล่าวว่าหมูกระทะ เป็นเมนูที่หากกินแบบไม่ปลอดภัยอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” หรือ “ไข้หูดับ” จากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ หรือจากการใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบ รวมถึงเสี่ยงการได้รับสาร พีเอเอชหรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน(Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

Screenshot 452

แนะนำ 5 วิธีกินหมูกระทะ ที่ทำให้ปลอดภัย

1. ปิ้งให้สุกอย่างทั่วถึง ด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาขึ้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที ทั้งนี้การนำเนื้อสัตว์จุ่มลงไปเพียงไม่กี่วินาที อาจทำให้เนื้อได้รับความร้อนไม่ทั่วถึง

2. แยกใช้อุปกรณ์ ควรแยกอุปกรณ์ที่ใช้กับเนื้อสุก และเนื้อดิบ โดยเฉพาะ เขียง ที่คีบ และตะเกียบ

3. เลือกเนื้อสัตว์ เลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อได้ หรือมีการรับรองความปลอดภัย และควรเลือกแบบที่มีไขมันติดอยู่น้อย และตัดส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้งก่อนรับประทาน

4. ใบตองช่วย ควรใช้ใบตองรออาหารปิ้งย่าง เพื่อลดไขมันที่จะหยดลงสู่ถ่าน ป้องกันสารก่อมะเร็ง

5. เลือกร้านอาหาร ที่สะอาด แยกภาชนะชัดเจน และใช้เตาที่ลดหรือป้องกันน้ำมันหยดลงเตาได้

“ทั้งนี้ ควรเสริมผักและผลไม้เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค และควรกินอาหารให้มีความหลากหลายในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวสายแคมป์ปิ้งหรือกางเต้นท์ต้องระมัดระวังอันตรายจากเตาไฟที่ใช้หลังกินเสร็จต้องมั่นใจว่าดับถ่านในเตาไฟจนสนิท เพราะอาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือการใช้เตาไฟฟ้าต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สายไฟไม่ชำรุด เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นเดียวกัน”

ขอบคุณข้อมูล – กรมอนามัย

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ