สัมภาษณ์พิเศษ – ‘ผู้กองธรรมนัส’มองการเมืองปี65

Home » สัมภาษณ์พิเศษ – ‘ผู้กองธรรมนัส’มองการเมืองปี65



‘ผู้กองธรรมนัส’มองการเมืองปี65ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ เคยประกาศว่า “ผมคือเส้นเลือดใหญ่ เลี้ยงหัวใจรัฐบาล”

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนมาถึงจุดนี้ ได้สะท้อนมุมมองสถานการณ์การเมือง ปี 2565 และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของรัฐบาลที่ใกล้ครบวาระ ตลอดจนการวางนโยบายของพรรค เพื่อเตรียมสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า

ยุทธศาสตร์ที่จะนำพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า

จากที่เราคุยกัน ในการเลือกตั้งสมัยหน้า พี่น้องประชาชนให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้องและทุกพรรคต่างรู้ว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญ ในพรรคพลังประชารัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับกลยุทธ์เรื่องนโยบายภาครัฐของพรรคให้เกิดประโยชน์กับประชาชนจริงๆ ต้องเป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญเรื่องปัจจัยในการดำรงชีวิต เพราะสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มาเยอะ มีอะไรเกิดขึ้นมากมาย ฉะนั้นการกำหนดนโยบายของพรรคในแต่ละนโยบายเป็นเรื่องสำคัญ

อีกทั้งการเมืองในปี 2565 การเลือกตั้งกับคนหลาก ช่วงวัย แต่ละพรรคต้องหาแนวทางโดยเฉพาะการจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ที่อาจมีความเห็นต่างจากการเมืองเดิม หากเดินวิธีเดิมอาจลำบาก เราต้องเปิดกว้างสำหรับทุกวัย ส.ส.ในแต่ละจังหวัดต้องไปคิดไปทำ เพราะบริบท ของแต่ละพื้นที่ ภาคเหนือ กลาง อีสาน ไม่เหมือนกัน พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้ขายนักการเมืองเก่าอย่างเดียว แต่ต้องเฟ้นผู้สมัครหน้าใหม่ด้วย เช่น ในเขตเมืองต้องเอาคนรุ่นใหม่ ถ้าในต่างจังหวัดยังมีระบบอุปถัมภ์ เราต้องคิดตรงนี้ด้วย

ส่วนเรื่องนโยบายเรื่องบัตรเครดิตเกษตรกรประชารัฐ สุขใจ 5 หมื่นบาทต่อครอบครัว โครงการธนาคารประชารัฐ ระดับตำบล ตำบลละ 20 ล้าน เป็นการรวบรวมความ คิดเห็นจากส.ส.ที่ไปรวบรวมปัญหาต่างๆ มาจากประชาชนในพื้นที่ แล้วนำมาเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ จากนั้นคณะกรรมการเขียนเป็นตัวร่าง แต่ยังไม่ใช่เป็นนโยบายของพรรค ยังไม่ตกผลึก ยังต้องผ่านการกลั่นกรองอีกหลายขั้นตอน

ไฮไลต์ที่จะดึงคะแนนนิยมจากประชาชน

นโยบายของพรรค สิ่งที่เราขายและจับต้องได้ คือเรื่องการดูแลสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐจะดูแลประชาชนในแต่ ละกลุ่ม

ขณะเดียวกันนโยบายเหล่านี้ต้องดูแลคนบอบบาง ที่ถือว่าสำคัญต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ ขนาดกลางก็ถือว่าสำคัญ จะทำอย่างไรให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ เพราะโดยโครงสร้างประเทศไทยเป็นเหมือนสามเหลี่ยมพีระมิดที่คนส่วนใหญ่คือฐานราก ฉะนั้นเราต้องทำฐานรากที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ให้มีความเข้มแข็ง มีอาชีพหลากหลาย ไม่ว่าเกษตรกร รับจ้าง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

สิ่งสำคัญที่พรรคต้องกลับไปดูจากที่พูดคุยกันมา หลายครั้งคือ ต้องทำท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง แม้วิถีชีวิตคนในท้องถิ่นสมัยก่อนส่วนใหญ่ฝากไว้กับอาชีพเกษตรกร พืชไร่ พืชสวน ประมง ปศุสัตว์ จะทำอย่างไรให้ในอนาคตทำสิ่งเหล่านี้แล้วต้องเลี้ยงดูตัวเองได้ ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมที่เคยเป็นมา เช่น ถึงเวลาปลูกข้าวก็ต้องปลูกทุกปีอยู่อย่างนั้น เวลาราคาข้าวตกต่ำก็มีปัญหา เวลาเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูก็เลี้ยงกันเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วจะไประบายที่ไหน จึงต้องทำให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง

เราปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องกระจายอำนาจท้องถิ่น เมื่อมีอบจ.เป็นของตัวเอง เป็นพี่ใหญ่ในท้องถิ่น จึงให้มองภาพว่าการจะให้ท้องถิ่นเข้มแข็งคือการเอาตลาดนำภาคการผลิต ในทุกตำบลและทุกท้องถิ่นควรมีจุดกระจายสินค้าเป็นของตัวเอง

โดยมองภาพรวมว่าประเทศไทยคือบริษัทบริษัทหนึ่ง ที่จะหารายได้เข้าประเทศ แต่ละตำบลให้ทำตัวเป็นบริษัท เช่น ตำบลนี้ควรมีจุดกระจายสินค้าอาจเป็นรูปแบบบริษัท โดยผู้ถือหุ้นคือประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน นำสินค้าเข้ามาอยู่ในบริษัทนี้ แล้วบริษัทนี้ไปขายให้อำเภอ อำเภอส่งไปจังหวัด จังหวัดกระจายไปกลุ่มจังหวัด และท้ายสุดกระจายไปแต่ละภูมิภาค จะทำให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ชาวบ้านก็ไม่จำเป็นต้องแห่ไปปลูกข้าวกัน 100-200 ไร่ เหมือนที่ผ่านมา

เมื่อเราให้ความรู้บริษัทในแต่ละตำบลใช้เทคโนโลยี นำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปช่วย ให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ผลิตผลที่ออกมามีคุณภาพ จะได้ราคาดีและมีการแปรรูป จนชุมชนเข้มแข็ง

นี่คือนโยบายที่พรรคต้องออกไปทำ หากไม่แก้อย่างนี้ ฐานรากของคนส่วนใหญ่กำลังจะตาย เราต้องกระตุ้นให้ฟื้น ขึ้นมา ไม่ใช่ไปคอยป้อนเขาอย่างเดียว ต้องให้คันเบ็ด เพื่อให้เขาไปหาปลา ไม่ใช่ป้อนเป็นลูกนกอยู่ในกรง

ปี 2565 มองสถานการณ์การเมืองอย่างไร รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่

ปัจจัยสำคัญต้องแยกเป็น 2 ส่วนคือ การบริหารราชการของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่เหลือกับเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือสภาผู้แทนราษฎร โดยภาพรวมในส่วนสภา เราเอาพรรคพลังประชารัฐ เป็นหลักยืนยันว่าพรรคเราไม่แตกแถว หรือถ้าแตกก็มีนิดหน่อย เราไปทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับพรรคภูมิใจไทยก็ไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อย ส่วนใหญ่ที่ผมดูแลก็ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเรื่องของสภาที่คาดเดาว่าจะไปไม่รอด ผมเชื่อมั่นว่าไปรอด

สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ซึ่งหลายปัญหาสะสมมานานและยังไม่ถูกแก้ไข การทำงานของรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง ต้องเร่งแก้ปัญหาโดยเฉพาะเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างจริงจัง โชว์ผลงานให้เห็น รัฐบาลจะอยู่รอดหรือไม่รอดขึ้นอยู่กับบริหารราชการ

การยื่นตีความวาระนายกฯ 8 ปี จะทำให้รัฐบาลสะดุดหรือไม่

ผมว่าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เพราะฝ่ายค้านจะยื่นเรื่องคุณสมบัตินายกฯหลังวันที่ 24 ส.ค.2565 อยู่แล้ว เป็นเรื่อง ปกติ ไม่ใช่ของใหม่ แต่เรื่องสำคัญที่สุดในเวลานี้ที่จะเป็น สาเหตุ คือเรื่องปากท้องของประชาชน เรื่องเศรษฐกิจมากกว่า รัฐบาลต้องประคองเรื่องนี้ไปให้ได้

หลายท่านไม่ได้เข้าไปดูเนื้อแท้ของปัญหาที่เกิดขึ้น ในแต่ละจังหวัด ไม่รู้ว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร เพราะปัญหา ในแต่ละจังหวัดมีมากมาย ประชาชนยังเดือดร้อนอยู่ ดังนั้นแต่ละกระทรวงต้องบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาอย่าง เอาจริงเอาจัง เรื่องนี้อยู่ที่การบริหารของรัฐบาล

ปัญหาเรื่องมวลชนที่เรียกร้องในเรื่องต่างๆ จะเขย่ารัฐบาลได้หรือไม่

ตอนที่ผมทำหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้ง พบว่าปัญหามวลชนสะสมกันมาและยังไม่ถูกแก้ไข หลายเรื่องใช้ระบบราชการมากเกินไป จนเกิดความล่าช้า ระเบียบทางราชการดี แต่บางครั้งแก้ปัญหาไม่ทันเวลากับความเร่งด่วนและความต้องการของประชาชนที่เป็นเรื่อง สำคัญมากกว่า

ปัญหามวลชนเราอย่ามองข้าม เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างนึง อย่าปล่อยให้ประชาชนเดือดร้อนจนลุกฮือขึ้นมา แล้วมาเล่นการเมืองข้างถนนแบบเก่า นี่เป็นปัญหาที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง

ความเคลื่อนไหวของม็อบปี 2565 เรื่องใด ที่จะจุดติด

ผมเป็นห่วงหลายเรื่อง ที่ผ่านมาคือคนที่จะลงไป แก้ปัญหาความเดือดร้อนของมวลชนแต่ละกลุ่มต้อง เข้าใจปัญหาจริงๆ ต้องมีใจและมีจิตเป็นสาธารณะในการ แก้ปัญหาจริงๆ อย่าเอาคนที่เล่นแต่การเมืองลงไปแก้ปัญหา เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ เช่น ปัญหาที่ทำกิน ปัญหาพี่น้องชาติพันธุ์

ปัญหาจากการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าประชาชนไม่มีส่วนร่วม ไม่มีส่วนในการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ มวลชนเหล่านั้นจะน่ากลัวในอนาคต

มองเสียงวิจารณ์รัฐบาลขาลงตามวัฏจักรการเมือง ที่ใกล้ครบวาระแล้วอย่างไร

ถือว่าเป็นธรรมชาติการเมืองที่เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย พอปีสุดท้ายก็จะมีปัญหาอย่างนี้ แต่ในที่สุดระยะเวลา ในช่วงที่เหลือขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไป จะแก้ปัญหาให้ประชาชนได้หรือไม่ เมื่อม็อบเกิดจากปัญหา ถ้าเรารู้จักแก้ไขให้ตรงจุด คันตรงไหนเกาตรงนั้น ปัญหาที่เกิดผมคิดว่าน่าจะแก้ได้

มองว่ารัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่

ความเห็นส่วนตัวของผมในเรื่องสภาอยู่ครบเทอม แต่เรื่องการบริหารของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่า จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และปัญหาเก่า จะถูกแก้ไขได้หรือไม่

พรรคพลังประชารัฐจะชูพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกฯ เพียงชื่อเดียว หรือไม่

ประเด็นนี้เราคุยกันแล้วว่าท้ายสุด อยู่ที่การตัดสินใจของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ท่านว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น เราอยู่กันแบบครอบครัว มีหัวหน้าครอบครัวคือพล.อ.ประวิตร เมื่อตัดสินใจแล้ว ว่าจะสนับสนุนบุคคลใด เรามีหน้าที่ทำงานต่อไปตามที่ท่านสั่งการ

มั่นใจหรือไม่ว่าชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่เสนอ จะได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในสภา รวมถึงผ่านด่านส.ว. 250 คนได้

อย่าเพิ่งไปมองว่ามีส.ว.ในมือ 250 เสียง เราต้องดู ในตะกร้าของเราก่อนว่าผู้สมัครส.ส. 500 คน ต้องคิดว่า ต้องทำให้ได้เข้ามาในสภาเท่าไหร่ก่อน และต้องให้ได้เยอะที่สุด เพื่อเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ก่อน

มองว่าคุณสมบัติของนายกฯหลังเลือกตั้ง หลังยุคโควิด-19 ควรมีความโดดเด่นอย่างไร

เราต้องมองในภาพรวม อย่าไปชูคนใดคนหนึ่ง เพราะคนเดียวไม่สามารถทำงานบริหารบ้านเมืองได้ เราชูเศรษฐกิจ คือต้องมองว่าใครขายได้ ฝ่ายความมั่นคง มีใครขายได้ ฝ่ายการแก้ปัญหามวลชนมีใครขายได้ เราไม่ได้ขายเฉพาะคนใดคนหนึ่งให้โดดเด่น แต่จะต้อง ชูเป็นทีมเวิร์ก โดยที่นายกฯควรเปิดกว้างรับฟังจากทุกฝ่ายที่มาจากพิมพ์เดียวกัน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหารบ้านเมือง

การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2565 ตามที่หลายฝ่ายวิเคราะห์หรือไม่

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้ารัฐบาลมีความพร้อมและคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องเข้าไปสู่การเลือกตั้ง และรัฐบาลทำทุกอย่างได้ดีแล้วหรือดีขึ้นมากกว่าเดิม

ก็อาจเป็นไปได้ ที่จะเกิดการเลือกตั้งในปี 2565

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ