สะพานหินโบราณใต้น้ำ สมัยราชวงศ์หมิง ผุดพ้นทะเลสาบ เหตุจีนเจอวิกฤตแห้ง

Home » สะพานหินโบราณใต้น้ำ สมัยราชวงศ์หมิง ผุดพ้นทะเลสาบ เหตุจีนเจอวิกฤตแห้ง


สะพานหินโบราณใต้น้ำ สมัยราชวงศ์หมิง ผุดพ้นทะเลสาบ เหตุจีนเจอวิกฤตแห้ง

สะพานพันตา สะพานโบราณใต้น้ำยาว 2,657 เมตร สมัยราชวงศ์หมิง ผุดพ้นทะเลสาบโผหยาง เหตุจีนเจอวิกฤตแห้ง

สำนักข่าวจีนรายงาน ประเทศจีนกำลังเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี หลาย 10 เมืองมีอุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียส เช่น เขตเป่ยเป่ยในฉงชิ่งรายงานว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 45°C ในขณะที่เสฉวนก็มีอุณหภูมิสูงถึง 43.8°C เป็นระยะเวลา 41 วันติดต่อกันแล้ว

ล่าสุด ทะเลสาบโผหยาง เคยถูกเรียกว่าทะเลสาบเผิงหลี่ (彭蠡澤) ในอดีต ตั้งอยู่ในจิ่วเจียง มณฑลเจียงซี เป็นแหล่งน้ำจืดใหญ่ที่สุดของจีนอยู่ที่ 14.01 เมตร พื้นน้ำทะเลสาบอยู่ที่ 3,331 ตารางกิโลเมตร ประสบภัยแล้ง ระดับน้ำของทะเลสาบลดลงอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวะน้ำแห้งขอด เหลือเพียง 600 ตารางกิโลเมตร และเข้าสู่ฤดูแล้งก่อนกำหนดในวันที่ 4 สิงหาคม

中新社資料照片

ทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว สามารถลงไปเดินในทะเลสาบแห่งนี้ได้อย่างสบาย ๆ แต่ที่น่าประหลาดใจที่สุดในการเกิดน้ำแห้งขอด คือ การปรากฏของสะพานเฉียนเหยียนหรือ สะพานพันตา ที่เป็นสะพานหินโบราณ มีความยาว 2,657 เมตร และได้ชื่อว่าเป็นสะพานหินที่ยาวที่สุดในทอดข้ามทะเลสาบในประเทศจีน

โดยสะพานเฉียนเหยียน ตั้งอยู่ในน่านน้ำของเขตเมืองดูโอเป่า เทศมณฑลตูชาง บรรจบถึงทะเลสาบโผหยาง มีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบ 400 ปีสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี

中新社資料照片

สะพานเฉียนเหยียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญภายใต้การคุ้มครองในมณฑลเจียงซี สร้างขึ้นจากหินแกรนิต แต่ละท่าสร้างด้วยไม้สนประมาณ 10 ต้น ซึ่งมีรู 983 ช่อง เพื่อระบายน้ำในสมัยโบราณกลายเป็นที่มาของชื่อสะพานพันตา

สะพานเฉียนเหยียนมักจะจมอยู่ใต้น้ำ จะโผล่ออกมาจากน้ำเมื่อระดับน้ำของทะเลสาบโผยางต่ำกว่า 10.5 เมตร ในปี 2559 หน่วยงานท้องถิ่นได้จัดสรรกองทุนพิเศษจำนวน 900,000 หยวน สำหรับการบูรณะสะพาน อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาจิ่วเจียงคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในท้องถิ่นในเดือนกันยายนจะต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่าภัยแล้งจะดำเนินต่อไป

中新社資料照片

ขอบคุณที่มาจาก Appledaily

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ