ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย โดยในปี 2565 ทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน ณ บริเวณรอบคูเมืองเชียงใหม่ และภายในเทศบาลเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- เปิดจดหมาย วิศวกรหนุ่ม แฉทุจริตในที่ทำงาน ก่อนรมควันตัวเองดับ
- ประเด็นดังโดน ตบหน้า ทนายรณณรงค์ วิเคราะห์กฎหมายมีโทษอาญา ทั้งจำทั้งปรับ
- ซากเต่าตนุ 20 ปี เกยตื้น แพทย์พบ เศษขยะ และหมุดตะปูจากกระทงเต็มท้อง!
โดยปีนี้มีประเด็นเรื่องไฟ เรื่องพลุเกิดขึ้น ก่อนหน้านี้เราได้ทำเสนอประเด็นเพลิงไหม้เจดีย์โฟมจำลอง งานเทศกาลปล่อยโคมลอยยี่เป็งล้านนา 2565 ที่ อำเภอสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มควันและไฟพวยพุ่งจำนวนมาก โดยเพลิงไหม้เริ่มจากบริเวณยอดเจดีย์ ก่อนจะลุกลามเผาวอดเจดีย์จำลองได้รับความเสียหายทั้งหมด
เบื้องต้นคาดว่าต้นเหตุเพลิงไหม้มาจากโคมลอย เนื่อจากในงานมีการปล่อยโคมลอยจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ใช้เวลาไม่นานก็สามาถควบคุมเพลิงไว้ได้ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ร่วมถึงอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ทางด้านเฟซบุ๊ก สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เผยว่า กรณีที่มีการเสนอคลิปวีดีโอการจัดงานประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง) ที่ผ่านมาโดยคณะกรรมการวัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการจุดดอกไม้ไฟและพลุบนองค์พระธาตุฯ และมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นในคลิปนี้และมีความห่วงใยในโบราณสถานองค์พระธาตุฯ เกรงจะได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว
สำนักฯได้ไปสำรวจตรวจสอบสภาพองค์พระธาตุฯแล้ว พบว่ามีการนำดอกไม้ไฟประเภทแสง(ธารน้ำตก) และพลุนำแสงขนาดเล็ก แขวนและบังคับทิศทางด้วยลวด พันเกาะกับองค์พระธาตุฯ แล้วใช้สายชนวนเป็นตัวบังคับการจุด ส่วนพลุขนาดใหญ่ที่มีเสียงดังนั้น เป็นการตั้งกระบอกพลุบริเวณฐานพื้นด้านนอกกำแพงแก้ว ไม่ได้ติดตั้งหรือจุดชนวนบนองค์พระธาตุฯ จากการตรวจสอบองค์พระธาตุฯ ไม่พบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจุดดอกไม้ไฟหรือพลุในครั้งนี้
พบเพียงคราบเขม่าที่ผิวปูนฉาบบนคราบเชื้อราดำบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ได้ถวายความรู้ คำแนะนำเบื้องต้นในความเหมาะสม การควรหรือไม่ควรกระทำสิ่งใดต่อโบราณสถานที่อยู่ในการครอบครองของวัด ตลอดจนวิธีบำรุงรักษา ดูแลรักษาโบราณสถานเบื้องต้น ให้กับท่านเจ้าอาวาสได้ทราบแล้ว
หลังจากนี้ทางสำนักฯ จะมีหนังสือกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ที่มีโบราณสถานตั้งอยู่ ถึงเรื่องแนวทางในการดำเนินงานต่างๆที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับโบราณสถาน และในอนาคตสำนักฯ จะจัดอบรมถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด ในโอกาสต่อไป
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY