สรุป ปม ที่ดินอุเทนถวาย อยู่ส่วนไหนของโครงการมาสเตอร์แพลน

Home » สรุป ปม ที่ดินอุเทนถวาย อยู่ส่วนไหนของโครงการมาสเตอร์แพลน

สรุป-ปม-ที่ดินอุเทนถวาย

สรุป ปม ที่ดินอุเทนถวาย อยู่ส่วนไหนของโครงการมาสเตอร์แพลน จุฬาฯ จนนำมาสู่การ สั่งย้ายอุเทนถวาย คืนที่ดินให้ “จุฬา”

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 กรณี ที่ดินอุเทนถวาย ที่กำลังถูกวิพากวิจารณ์อยู่ในตอนนี้ ผู้ใช้ X ที่ใช้ชื่อว่า 𝐅𝐢𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠 𝐖𝐡𝐨 𝐀𝐬𝐤𝐞𝐝 สรุปไทม์ไลน์ “เรื่องที่ดินจุฬาฯ – อุเทนถวาย” คร่าวๆ ว่า ประวัติอุเทนถวายคร่าวๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เดิมมีชื่อว่าโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตั้งอยู่บนถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2477 โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

สรุป ปม ที่ดินอุเทนถวาย (2)

เรื่องปมที่ดิน
อุเทนถวายทำสัญญาเช่าที่ดินจุฬาฯ เป็นเวลา 68 ปีตั้งแต่ปี 2478-2546 เป็นพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา เพื่อขยายเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการพัฒนา ทีนี้จุฬาฯมีมาสเตอร์แพลน หรือแผนแม่บทจัดการที่ดินมหาศาล จำนวน 1,153 ไร่ ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาจุฬาฯ
มาสเตอร์แพลนของจุฬาฯ
ออกแบบการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ลักษณะ ประกอบด้วย
– 52 % ใช้เพื่อการศึกษา
– 18 % ใช้เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการอื่นและบริการสาธารณะ
– 30 %ใช้เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
ในส่วนของเขตพื้นที่ 18 % มีทั้งให้ยืม และให้เช่า อาทิ บริเวณซอย 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ขณะที่พื้นที่ 30 % บริเวณสยามสแควร์ สามย่าน จามจุรีสแควร์ มาบุญครอง ใช้ในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด
ปัญหาคือที่ดินส่วน 52%
พื้นที่เพื่อการศึกษาทั้ง 52% นี้ ได้รวมถึงพื้นที่ตั้งของอุเทนถวาย จำนวน 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา เข้าไปด้วย ดังนั้นจุฬาฯ ซึ่งถือครองกรรมสิทธิ์บนที่ดินดังกล่าว จากสัญญาเช่าที่อุเทนถวายได้ทำไว้กับจุฬาฯ เป็นเวลา 68 ปี หรือตั้งแต่ปี พ.ศ.2478-2546 จึงเจรจาขอคืนพื้นที่เพื่อนำมาสร้างเป็น
1. หน่วยวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้งานสร้างสรรค์
2. หน่วยข้อมูลด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์
3. หน่วยเผยแพร่นวัตกรรมงานสร้างสรรค์
4. หน่วยบ่มเพาะเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
5. หน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์
6. พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพื่อสังคม
ซึ่งจุฬาฯ เชื่อมั่นว่า ศูนย์ดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจ SMEs ในด้านนี้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 50 ราย มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไม่ต่ำกว่า 75 ผลิตภัณฑ์ต่อปี รวมทั้งเกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมสร้างสรรค์ไม่ต่ำกว่าปีละ 50 ธุรกิจ

  • นักท่องเที่ยวจีน เล่นร่มร่อนริมหาด พลาดแข้งหัก ล่าสุด จนท.ลงตรวจแล้ว
  • เจ้าหนี้ แฉลูกหนี้ หัวหมอยืมแล้วไม่มีคืน อ้างเจ้าหนี้ขู่ทำร้าย ร้องให้รัฐช่วย
  • ลือหึ่ง! สาวพร เปิดตัวแฟนใหม่ ชื่อเอก ที่คุ้นเคย หลังลั่น ไม่ขอมีสามีอีก

ต่อมาจุฬาฯ ได้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการและกรมธนารักษ์ขอความอนุเคราะห์จัดหาพื้นที่ให้อุเทนถวาย ในปี 2545 กรมธนารักษ์จัดหาพื้นที่ให้จำนวน 36 ไร่ ที่ตำบลบางปิ้ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดสรรงบประมาณให้เพื่อการก่อสร้างและขนย้ายประมาณ 200 ล้านบาท ในปี 2548 อุเทนถวายได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าจะย้ายไปก่อสร้างสถาบันใหม่ที่ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายยังติดขัดปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า

สรุป ปม ที่ดินอุเทนถวาย (1)

ในปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้ง ‘คณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.)’ ระหว่างนั้นสโมสรนักศึกษาอุเทนถวายได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง เพื่อขอไม่ให้มีการย้ายออกจากพื้นที่เดิม ต่อมา ปี 2552 กยพ. มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ รวมทั้งชำระค่าเสียหายปีละ “ล้านบาทเศษ” จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ . ผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ก็ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด ปี 2556 อุเทนถวาย ยื่นหนังสือชี้แจงกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน ถึงจุฬาฯ พร้อมหลักฐานอ้างอิงตามประวิติศาสตร์ โดยให้เวลา 90 วัน ส่งคืนกรรมสิทธิ์ ก่อนนัดรวมตัวในนามคณะพิทักษ์สิทธิ์เพื่อการศึกษาอุเทนถวาย (คพศ.) ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบันกว่า 1,000 คน เดินขบวนจากอุเทนฯ ไปยังบริเวณหน้าอาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทวงสัญญา จนกระทั่ง “เดือนธันวาคม ปี 2565 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่ง”



แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ