สมาคมคนพิการปทุมธานี เปิด “ฟาร์มสามารถ: ฟาร์มรัก ฟาร์มร่วมมือ สู่ ฟาร์มเรียนรู้”

Home » สมาคมคนพิการปทุมธานี เปิด “ฟาร์มสามารถ: ฟาร์มรัก ฟาร์มร่วมมือ สู่ ฟาร์มเรียนรู้”



สมาคมคนพิการปทุมธานีเปิด “ฟาร์มสามารถ: ฟาร์มรัก ฟาร์มร่วมมือ สู่ ฟาร์มเรียนรู้” สมาร์ทฟาร์มเมอร์” เห็นความสำคัญ สร้างโอกาสความเท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคม

ที่สมาคมคนพิการปทุมธานี เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานพิธีเปิดงานสัมมนา “ฟาร์มสามารถ ฟาร์มรัก ฟาร์มร่วมมือ สู่ฟาร์มเรียนรู้” ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางกีต้า ซับระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ นายอาซิส เอลเบห์ริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ดร.วนิดา กำเนิดเพชร กระทรวงเกษตรฯ ผศ.ดร.ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนานำร่องระบบนิเวศหมู่บ้านดิจิทัลในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายเขื่อน สุปัญบุตร นายกสมาคมคนพิการปทุมธานี และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานี

รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ระยะเวลาที่ผ่านมา ได้เห็นถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานีและชุมชนละแวกนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขอชื่นชมความร่วมแรงร่วมใจของพวกเราทุกๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายเขื่อน สุปัญบุตร นายกสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานี ที่มานะอุตสาหะ และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะพัฒนาศักยภาพของคนในสมาคมทั้งยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมกำลังใจของสมาชิกสมาคมทุกคน “นอกเหนือจากนี้แล้วต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากพันธมิตรที่ดีที่คอยให้ความช่วยเหลือ

และเห็นความสำคัญตลอดจนสร้างโอกาสของความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม สำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA ดีป้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารทหารไทยธนชาติ รวมถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่ได้ช่วยกรุณาสนับสนุนทั้งในเชิงวิชาการ และเชิงปฏิบัติการจนปัจจุบันชุมชนที่มีความแข็งแกร่งถือเป็นพลังผลักดันสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมี Soft Power อย่างแท้จริง โดยให้ความสำคัญกับผู้คนในชุมชน ความร่วมมือ การใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของความเปลี่ยนแปลง การใช้การสื่อสารโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมองเห็นประโยชน์ของชุมชน และส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะนำมาสู่ความยั่งยืนของตนเองและชุมชนต่อไป สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานี และชุมชนในละแวกนี้ จะสืบสานความตั้งใจ ปณิธานอันแน่วแน่ต่อไป และส่งต่อความสำเร็จนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของทุกท่านก้าวย่างต่อไปในอนาคต

ดร.วนิดา กำเนิดเพชร กระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า สำนักงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้แทนประเทศไทยกับองค์การสหประชาชาติประเทศไทย FAO องค์การอาหารเกษตรแห่งสหประชาชาติและเราถือว่าทำหน้าที่โค้ชคันทีนเป็นประเทศเจ้าภาพ วันนี้รู้สึกยินดีมากที่ได้มาเยี่ยมชม เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวใจสำคัญอยู่ในนโยบายการเกษตรที่จะมาเติมเต็มสร้างอนาคต รูปแบบของการตลาดอีกหลายๆ เรื่องร่วมถึงความยั่งยืนการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิวัตกรรมเทคโนโลยี 4.0 วันนี้เราคงจะมามองอีกบริบทหนึ่งที่กระทรวงเกษตรทำงานอยู่ที่พลิกโฉมและงานของดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยีจะเชื่อมเราสามมิติของความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังทำงานตรงนี้ซึ่งในพื้นที่เราก็ยังทำสมาร์ทฟาร์มเมอร์ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง สมาร์ทอินเพาเวอร์ โดยหน่วยงานในพื้นที่ซึ่งมันน่าจะเชื่อมโยงอีกได้หลายๆ ที่ที่เราให้บริการจากกระทรวงเกษตรฯ ที่จะสนับสนุนตรงนี้หรือหน่วยงานอื่นก็ยินดีที่จะประสานการทำงาน

นายเชื่อน สุปัญบุตร นายกสมาคมคนพิการปทุมธานี กล่าวว่า วัตถุประสงค์การจัดงานในวันนี้เปิดศูนย์เรียนรู้ให้ นักศึกษา นิสิต ที่สนใจสมาคมคนพิการหรือผู้สูงอายุ และชุมชน มาเรียนรู้การผสมดิน การปลูกผักสลัด ทำยังไง ให้เพื่อนคนพิการเขามาเรียนรู้ในศูนย์ มาดูความเป็นมาของผัก และความเป็นมาของฟาร์มแรกตั้งชื่อความสามารถ คนสมารถ ไม่คิดว่าคนพิการทำได้ คนพิการก็ทำปลูกผักได้ ปลูกผักเกษตรได้ เราพัฒนาหรือเราทำให้เหมาะต่อคนพิการก็สามารถทำปลูกผักได้ นำไปขายได้ด้วย ในการตลาด ตอนนี้ตลาดเราขายหน้าฟาร์มเป็นผักสลัด ต่อมาก็มีคนสั่งทางเน็ต และมารับหน้าฟาร์ม ซึ่งก็สั่งเอาผักชนิดใด ทางฟาร์มก็ปลูกให้ สร้างรายได้ตกเดือนละหมื่นกว่าบาท ก็จะมีการนำเข้ากองทุนสมาคมฯแบ่งปันให้เพื่อนคนพิการ ตอนนี้เรามีสมาชิกสมาคมคนพิการ ประมาณ 200 คน คนพิการจังหวัดปทุมธานีมี 2 หมื่นกว่าคน โดยทางสมาคมฯ ช่วยเรื่องการเรียน ร้องสิทธิ์ให้คนพิการและส่งเสริมอาชีพคนพิการมีงานทำ ตั้งแต่ปี 2563 มหาวิทยาลัยฯ ได้ช่วยเหลือด้านเทศโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกคนพิการเข้าถึงได้โดยใช้การรดน้ำผักเราจะใช้ตั้งอัตโนมัติสั่งผ่านทางมือถือ

นายเขื่อน กล่าวว่า ความเป็นมา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ภายในสมาคมฯ ภายใต้ชื่อ “ฟาร์มสามารถ” ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การปลูกผักสลัดอัจฉริยะตามหลัก Universal Design เพื่อส่งเสริมอาชีพคนพิการด้านการเกษตร รวมถึงเป็นพื้นที่ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานฟื้นฟูศักยภาพคนพิการให้ยืนหยัดได้ด้วยตนเองและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนและสังคมคนพิการ ตลอดจนผู้สนใจด้านการทำเกษตรอัจฉริยะ

ในปี 2563 และ 2564 ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนิเทศ ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล และคณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ร่วมกับสมาคมคนพิการปทุมธานี ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ของสมาคมฯภายใต้ชื่อโครงการ “ฟาร์มสามารถ” โดยมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ให้กับคนพิการที่เป็นสมาชิกอย่างยั่งยืน โดยในปี 2563 ได้มีการจัดสร้างโรงเรือนปลูกผักสลัดอัจฉริยะ และการฝึกอบรมระบบการจัดการ การดูแล และการบริหารจัดการด้านการซื้อขาย การทำการตลาดที่เหมาะสม และในปี 2564 ได้จัดสร้างร้านกาแฟ เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายผลผลิตต่างๆภายในสมาคมฯ ซึ่งส่งผลให้คนพิการได้มีโอกาสในการพัฒนาทักษะ ด้านการทำงานหาเลี้ยงชีพ และมีโอกาสมีงานทำ ไม่ต้องเป็นภาระของผู้อื่น เป็นไปตามแนวทางและเนื้อความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ได้

นอกจากนั้นแล้วในปี 2565 ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสมาคมฯ ได้หารือกันและมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ฟาร์มสามารถแห่งนี้ ได้เป็นพื้นที่เรียนรู้การเกษตรอัจฉริยะแห่งใหม่ในจังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเปิดพื้นที่เพื่อการสัมมนาเรียนรู้การทำกิจการส่งเสริมอาชีพสำหรับคนพิการภายนอกและผู้สนใจอื่นๆที่สนใจ ตลอด 3 ปีของการดำเนินโครงการ ได้มีภาคีเครือข่ายเข้าให้การสนับสนุนมากมาย เช่น สำนักงานจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ข้างต้นแล้ว “ฟาร์มสามารถ”ยังได้รับเลือกจาก United nations Food and Agriculture Organization (FAO) เป็น 1 ใน 1000 หมู่บ้านตัวอย่างจากทั่วโลก ที่นำ digital technology มาใช้ในการเกษตร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ