วานนี้ 6 ก.ย. 66 ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 1) ประจำปี 2566 โดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ที่ประชุมได้รายงานผลการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 90,570,138,630 บาท
โดยในที่ประชุม ได้ขอให้ตัดงบประมาณโครงการนี้ เนื่องจากมองว่าไม่คุ้มค่ากับงบประมาณในการปรับปรุง ซึ่งให้ความเห็นว่า การเขียนโครงการต้องเขียนให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. เรื่องเส้นเลือดฝอย การประมาณการเพื่อทำโครงการควรวิเคราะห์ให้สมเหตุสมผล ซึ่งคำขอรับงบประมาณทุกกลุ่มเขตไม่มีการให้รายละเอียดแต่อย่างใด
การปรับปรุงห้องเรียนโดยการจัดซื้อเครื่องปรับอากาศอาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี ต้นทางการแก้ปัญหาคือ การปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้การปลูกต้นไม้เพื่อกรองฝุ่น ควรปลูกฝังให้เด็กมีความรักและผูกพันกับต้นไม้ และอาจร่วมด้วยการงดกิจกรรมกลางแจ้ง รวมทั้งการหมั่นทำความสะอาด
ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบกับผู้สงวนความเห็น ให้ตัดงบประมาณของสำนักการศึกษาโครงการดังกล่าวในวงเงิน 219,339,000 บาท
ทั้งนี้ ความปลอดภัยของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ แต่การนำเด็กไปไว้ในห้องปรับอากาศตลอดเวลาเหมาะสมและปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงงบประมาณค่าไฟที่จะต้องเพิ่มขึ้นมา หากกรุงเทพมหานครจะเสนอโครงการพร้อมรูปแบบการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในคราวเดียวกันจะเหมาะสมมากกว่า
- ก้าวไกล ซัด! สส.แอบถ่ายรูป ขนอาหารกลับ -‘พิเชษฐ์’ ไฟเขียว เอากลับได้
- ‘หยก’ เล่าเข้า รร. ให้ไปอยู่ห้องคนเดียว ขอความชัดเจนปม สถานะนักเรียน
- แจกเงินดิจิทัล ไม่ผ่าน เป๋าตัง แล้ว กลับไป Blockchain เหมือนเดิม
ทางด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวชี้แจงในที่ประชุมว่า เรื่องนี้อยู่ในนโยบายการจัดพื้นที่ปลอดฝุ่นให้กลุ่มเปราะบาง อายุ 1 – 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สมองจะสามารถพัฒนาได้ดีที่สุด หลายครั้งเราละเลยเด็กกลุ่มนี้ ประกอบกับการสอนให้เด็กเล็กใส่หน้ากากทำได้ยาก จึงเกิดแนวคิดทำเรื่องห้องเรียนปลอดฝุ่น หลายครั้งที่ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนและเห็นว่าเด็กอยู่ในห้องเรียนที่ร้อน
ห้องของเด็กที่เป็นอนาคตของชาติ การลงทุนงบประมาณกับเด็กถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่า อนาคตต้องมีการติดโซลาร์เซลล์ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเด็กรวยหรือเด็กจนควรได้รับโอกาสในการเรียนในห้องเรียนปรับอากาศ
สำหรับรายการโครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบตัดออก ประกอบด้วย
- 1.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง จำนวน 41 โรงเรียน 140 ห้อง จำนวน 17,646,000 บาท
- 2.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 129 โรงเรียน 561 ห้อง จำนวน 70,584,000 บาท
- 3.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จำนวน 45 โรงเรียน 244 ห้อง จำนวน 30,748,000 บาท
- 4.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 55 โรงเรียน 192 ห้อง จำนวน 24,202,000 บาท
- 5.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ จำนวน 89 โรงเรียน 247 ห้อง จำนวน 31,033,000 บาท
- 6.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จำนวน 70 โรงเรียน 359 ห้อง จำนวน 45,126,000 บาท
ล่าสุดได้มีการชี้แจงเพิ่มเติมจาก นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตคลองสามวา ในฐานะโฆษกสภากรุงเทพมหานคร โดยนางสาวนฤนันมนต์ นั้นกล่าวว่า
วสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับนโยบายเรื่องของการศึกษาตลอดมา ทั้งเรื่องการเพิ่มศักยภาพการดูแลสวัสดิการครูผู้สอน
“การเขียนโครงการเหมารวมในรูปแบบเดียวกันทุกกลุ่มเขต การตั้งราคาเครื่องปรับอากาศที่สูงเกินบริบทของห้องเรียน การกำหนดงบประมาณจากเบื้องบนเพื่อให้เบื้องล่างนำไปปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน จึงเหมือนการตีเช็คเปล่าที่ไม่ได้เจาะจงการใช้เงินให้เห็นชัดเจน
นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยไม่ได้จัดหาเครื่องฟอกอากาศเพิ่มอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันฝุ่นซึ่งมีจำนวนสูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ และเรื่องความปลอดภัยของเด็กไม่ได้มีแค่เรื่องฝุ่น แต่เรื่องของกล้องวงจรปิด ห้องน้ำที่เพียงพอและถูกสุขลักษณะ การปลูกต้นไม้ฟอกอากาศในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน” โฆษกสภากทม. กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : PPTV
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY