สฟิงโกไมอีลินในนมแม่ เสริมสร้างให้ลูกสมองไว เริ่มต้นที่ขวบปีแรก

Home » สฟิงโกไมอีลินในนมแม่ เสริมสร้างให้ลูกสมองไว เริ่มต้นที่ขวบปีแรก
สฟิงโกไมอีลินในนมแม่ เสริมสร้างให้ลูกสมองไว เริ่มต้นที่ขวบปีแรก

นับจากนี้อีก 20 ปี เชื่อว่าคงไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่า โลกของเราจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของลูกเรา ยุคที่เกิดมาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนก็ว่าได้ สิ่งนี้กำลังบอกเราว่า ชีวิตทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธเทคโนโลยีได้เลย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะก้าวกระโดดไปสักเพียงไหน หากสมองพร้อม สมองดี และสมองไว สถานการณ์ไหน ๆ ก็รับได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างสมองของลูกน้อยได้ตั้งแต่วันนี้ ด้วยสฟิงโกไมอีลิน โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกถือเป็นโอกาสทอง ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยให้สมองของลูกน้อยได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สฟิงโกไมอีลินในนมแม่ เสริมสร้างให้ลูกสมองไว เริ่มต้นที่ขวบปีแรก

แม้อนาคตไม่สามารถคาดเดาได้ แต่เราวางแผนให้โลกอนาคตของลูก

ทุกวันนี้เรียกว่า เป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยี และนับวันเทคโนโลยีกำลังก้าวกระโดดไปไกลมากขึ้น หากนับจากวันนี้ไปอีก 20 ปีข้างหน้า เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แน่นอนว่าไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับลูกของเรา แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดที่พ่อแม่อย่างเราสามารถทำได้ คือ การเตรียมความพร้อม

แม้ว่ายุคสมัยปัจจุบันจะเจริญก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม ไม่ได้หมายถึงเราจะก้าวตามไม่ทันหรือเราจะกลายเป็นคนตกยุคตกสมัย หากเราปรับตัวเปิดรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ นำความรู้ที่ได้ มาเพิ่มเติมศักยภาพ และความสามารถให้ลูกของเรา เรียกว่า  ติดอาวุธให้ลูกเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตทั้งในวันนี้และในอนาคต ให้ทันการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม  หากลูกมีพื้นฐานดีเท่ากับการเริ่มต้นที่ดี สมองฉับไว สมองทำงานได้เร็ว  คืออาวุธสำคัญ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การต่อยอดความสำเร็จในโลกอนาคต ที่อาจมีเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราทำให้กลายเรื่องที่เป็นไปได้

เตรียมความพร้อมให้ลูกตั้งแต่วันนี้ด้วยการเตรียมสมองของลูกให้พร้อม

จุดเริ่มต้นที่สำคัญของพัฒนาการของทารก คือ  สมอง1  เพราะการมองเห็นของทารก การได้ยิน  การเรียนรู้ภาษาโต้ตอบกับพ่อแม่  รวมถึงเรียนรู้ที่จะปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มต้นที่ “สมอง” โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก การพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมองมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับ “โภชนาการที่ดี” เพราะสารอาหารที่ได้รับคือ วัตถุดิบสำคัญที่สมองนำไปใช้สร้างเซลล์และสารสื่อประสาท และสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ  การเลี้ยงดู อย่างเหมาะสม อยากให้ลูกสมองไว  สมองดี จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ เพราะส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาศักยภาพสมองของทารก มีงานวิจัยทางด้านสมองพบว่า  จุดเริ่มต้นที่แตกต่างในวัยทารก อาจส่งผลต่อโอกาสความสำเร็จที่แตกต่างในอนาคต  เพราะพ่อแม่ไม่อาจคาดเดาอนาคตของลูกได้ อนาคตที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เสมอ การพัฒนาสมองลูกน้อยและการเรียนรู้ที่ดีตั้งต้นตั้งแต่วัยเด็กในช่วงขวบปีแรก ส่งผลที่แตกต่างอย่างมากในวัยเรียนและวัยผู้ใหญ่ ทั้งด้านสติปัญญา ความคิด ความฉลาด และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ ถึงแม้ว่า ‘ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด’ ก็ตาม แต่พ่อแม่สามารถเตรียมสมองลูกน้อยตั้งแต่เกิดให้พร้อมได้ตั้งแต่วันนี้

งานวิจัยยืนยัน พัฒนาการสมองไว ด้วย ‘สฟิงโกไมอีลิน’

ALT: งานวิจัยยืนยัน พัฒนาการสมองไว ด้วยสฟิงโกไมอีลิน

 

 

ในโลกอนาคตที่พ่อแม่เองก็ไม่อาจคาดเดาได้ การพัฒนาที่ก้าวล้ำของเทคโนโลยีอาจมีเรื่องทั้งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้เกิดขึ้น  ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไวแค่ไหน พัฒนาการสมองของเด็กต้องไวกว่า ช่วงขวบปีแรกถือเป็นโอกาสทองการสร้างสมองดี สมองไว ในอนาคตลูกของเราอาจทำให้เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ ขึ้นอยู่การพัฒนาสมองของลูกน้อยตั้งแต่วันนี้  จุดเริ่มต้นของการพัฒนาสมองทารกที่ดีที่สุด คือ นมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งสารสำคัญที่ เรียกว่า ‘สฟิงโกไมอีลิน’ 

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ‘สฟิงโกไมอีลิน’ คือ ไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิด บทบาทหน้าที่สำคัญของสฟิงโกไมอีลินคือ ทำให้สมองสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ2 ส่งผลต่อลูกน้อยให้เกิดการจดจำและการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างว่องไว 

สฟิงโกไมอีลิน เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้างปลอกไมอิลีน ช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ทารกเกิดการเรียนรู้  จดจำ ต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ถึงศักยภาพการเรียนรู้ของทารกด้วยเครื่อง MRI (magnetic resonance imaging) พบว่า เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในของสมอง เรียกว่า สมองเนื้อสีขาว (white matter) จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เรียกว่ากระบวนการสร้างไมอีลิน3

นมแม่อาหารชั้นเลิศสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิด  นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารอย่างสฟิงโกไมอีลิน และดีเอชเอ งานวิจัย พบว่า เด็กที่ได้รับนมแม่จะมีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ4 พัฒนาการสมองดี พัฒนาการสมองด้านการเรียนรู้ ไมอีลินมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด สมองของลูกจะสามารถคิด วิเคราะห์ และจดจำได้จนเติบโต ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลระหว่างสมองหลาย ๆ ส่วน ความสำเร็จต้องเริ่มต้นที่สมองดี สมองไว เพราะอนาคตไม่อาจคาดเดาได้ เตรียมความพร้อมให้สมองลูกตั้งแต่วันนี้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้ในวันนี้ อาจเป็นไปได้ในอนาคต ยิ้มรับความเปลี่ยนแปลง รับมือได้กับทุกสถานการณ์ด้วยความมั่นใจ

ยิ่งเล่นสมองยิ่งแล่น เพราะการเล่นช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองลูกให้ไวยิ่งขึ้น

สฟิงโกไมอีลิน ช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองลูกน้อยให้ไวยิ่งขึ้น

สมองของเด็กนอกจากการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองอย่าง ‘สฟิงโกไมอีลิน’ เพื่อให้การเชื่อมต่อของสมองส่วนหน้าพัฒนาไปได้อย่างดีและพัฒนาอย่างรวดเร็วแล้ว   “สำหรับเด็ก “การเล่น” ก็เป็นการพัฒนาสมองเด็กด้วยเช่นกัน  สำหรับผู้ใหญ่เรียนรู้จากการศึกษาเล่าเรียน จากการทำงาน แต่สำหรับเด็ก การเล่น คือ การเรียนรู้ สำหรับเขา  การเล่น ช่วยกระตุ้นสมองไว การพัฒนาการสมองเด็ก ทำได้โดยผ่านกิจกรรมที่มีเป้าหมาย ควรสร้างเวลา ผ่านกิจกรรมฝึกสมอง แห่งสายใย และความอบอุ่น ไปพร้อมกับการฝึกกระตุ้นสมองของลูก เพื่อสร้างทักษะสมองขั้นสูง เป็นทักษะที่สำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต  ทักษะสมองขั้นสูง ได้แก่5,6

  • มีความจำดี นำไปใช้ได้ (Working Memory)

พื้นที่สมองในส่วนที่เป็นความจำทำหน้าที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลนั้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ กิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองเพื่อเสริมสร้างส่วนความจำเพื่อใช้งาน เช่น การเล่น Flash card  การอ่านนิทานเสริมสร้างสติปัญญา  ความคิด  และจินตนาการ  ด้วยการเลือกหนังสือนิทานให้ลูกอ่านเป็นหนังสือที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความสนใจของเขา การอ่านนิทาน แล้วชวนพูดคุยเรื่องราว  เหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับนิทาน พูดคุยถึงตัวละคร ช่วยกระตุ้นสมองส่วนความจำได้อย่างดี

  • รู้จักปรับตัว และยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)

ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่นทางความคิด แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับเปลี่ยน เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ ความยืดหยุ่นทางความคิด เป็นความคิดที่เหมาะสมกับสังคมยุคปัจจุบันที่มีความรู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนยีที่หลากหลาย โดยสามารถกระตุ้นการทำงานของความคิดยืดหยุ่นของสมองส่วนหน้า ผ่านกิจกรรม “แก้ปัญหา” ให้ลูกๆ อยู่เสมอ เช่น การเล่น Board Game

  • สามารถควบคุม และยับยั้งตนเอง (Inhibitory Control)

ความสามารถในการทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ เป็นความสามารถอย่างหนึ่งที่เป็นทักษะทางสมองขั้นสูง  มีความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะกระทำได้ โดยสามารถกระตุ้นความสามารถในการอดทน ควบคุมและยับยั้งตนเองของสมองส่วนหน้าผ่านกิจกรรม เช่น การฝึกให้เด็กมีสมาธิ เช่น ปั้น playdough การต่อเลโก้ ต่อจิ๊กซอว์ หรือต่อบล็อก

การแสดงความรักกับลูกผ่านช่วงเวลาคุณภาพผ่านกิจกรรมสนุกสนานช่วยให้ทารกเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ไปพร้อมกัน  เพราะทุกความสำเร็จล้วนเกิดจากการกระตุ้นสมองดี สมองไวตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ว่าโลกจะหมุนไปเร็วแค่ไหน สมองลูกน้อยต้องดีและต้องไว เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โลกเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน สมองต้องรวดเร็วพร้อมก้าวทันโลกอย่างมั่นใจ และมีความสุข

หากคุณแม่มีข้อสงสัย พัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club (https://www.s-momclub.com/profile/register) ได้ตลอด 24 ชม.ไม่มีค่าใช้จ่าย 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
• https://www.s-momclub.com/articles/newmom/what-is-sphingomyelin
• https://www.s-momclub.com/article/what-is-benefits-of-dha

อ้างอิง:

  1. National Institutes of Health (US); Biological Sciences Curriculum Study. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2007
  2. Deoni S, 2012
  3. Dai X, et al, 2019.
  4. Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084.
  5. Department of Mental Health (dmh.go.th)
  6. EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร?, โรงพยาบาลมนารมย์

    https://www.manarom.com/blog/EF_Executive_Function.html 

อ้างอิง : 

  1. https://www.manarom.com/blog/EF_Executive_Function.html

 

 

 

 

[Advertorial]

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ