วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เกิดกระแสดราม่าในโลกโซเชียล กรณีของ น้องหยก นักกิจกรรม โดยในช่วงเช้าที่ผ่านมา “หยก” และผู้ปกครองได้เดินทางมาที่โรงเรียน เพื่อเรียกร้องขอให้ตนเองเข้าไปเรียนตามปกติ แต่งานนี้กลับเกิดกระแสตีกลับทำให้ #saveหยก #น้องหยก พุ่งติดเทรนทวิตเตอร์ ซึ่งชาวเน็ตต่างร่วมแสดงความคิดเห็นการกระทำและการแสดงออกของหยกเป็นจำนวนมาก
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ (14 มิ.ย. 66) ทางโรงเรียน ออกแถลงชี้แจงว่า น้องหยกพ้นสภาพนักเรียน เนื่องจาก ไม่มามอบตัวนักเรียนให้สมบูรณ์ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่โรงเรียนจะต้องยืนยันข้อมูลจำนวนนักเรียนในระบบ DMC ของกระทรวงศึกษาธิการ แต่นักเรียนไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว ทำให้ไม่มีฐานข้อมูลในระบบ จึงไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียน ในปีการศึกษา 2566
- ลิงค์ตรวจสอบ ข้อพิรุธเกี่ยวกับ งบการเงิน ของ ITV หลังพบข้อผิดสังเกต
- กระแสตีกลับ น้องหยก หลังมีกระแสดราม่า ปม พ้นสภาพการเป็นนักเรียน
- พลังโซเชียล ‘ครูอุ้ม’น้ำตาไหล ปิดบัญชี ‘น้องเตย เด็กกตัญญู’ 5.9 ล้าน
ล่าสุด นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวได้มีการหารือกับทางโรงเรียนแล้ว ซึ่งทางโรงเรียนได้ชี้แจงรายละเอียดตามที่แถลงในข้างต้น ถึงแม้จะไม่มารายงานตัว แต่ทางโรงเรียน และทางราชการ ก็พร้อมให้ “น้องหยก” เข้าเรียนได้ตามปกติ เพียงแต่นักเรียนต้องปฏบัติตามกฎระเบียบที่ทางโรงเรียนได้กำหนดไว้ ซึ่งมีการทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นจาก 3 ส่วนคือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองก่อนออกมาเป็น ข้อกำหนดที่ใช้ร่วมกันภายในสถานศึกษา
ส่วนเรื่องเครื่องแต่งกาย ชุดนักเรียน หรือ ชุดไปรเวต มาเรียนนั้น ทางศธ. กำหนด ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ไว้เป็นกรอบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษา ซึ่งมีบางแห่ง กำหนดให้มีการแต่งกายชุดไปรเวตสัปดาห์ละ 1 วัน แต่ต้องต้องเป็นไปตามความคิดเห็นของส่วนรวมที่กำหนดร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งร่วมไปถึง “ทรงผม” เช่นเดียวกัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY