สพฐ. ชี้แจง กินข้าวกับไข่ต้ม ซัดดราม่า ต้องแยกแยะเรื่องจริง – เรื่องแต่ง

Home » สพฐ. ชี้แจง กินข้าวกับไข่ต้ม ซัดดราม่า ต้องแยกแยะเรื่องจริง – เรื่องแต่ง
กินข้าวกับไข่ต้ม

กินข้าวกับไข่ต้ม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชี้แจงกระแสดราม่าโภชาการ ซัดผู้อ่านต้องแยกแยะเรื่องจริง – เรื่องแต่ง

วันที่ 23 เมษายน 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ชี้แจงว่า เนื้อหาของบทตามบทความของหนังสือที่กำลังตกเป้นกระแสดราม่านั้น ตามเจตนาของผู้แต่งคือ สอนเด็กให้เรียนรู้ว่าความสุขของชีวิตอยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุสิ่งของ เมื่อคิดดี ทำดี ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จิตใจมีความสุข ก็จะทำให้ผู้อื่นมีความสุขไปด้วย ซึ่งการนำรูปภาพเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง “ชีวิตมีค่า” มาวิเคราะห์ อาจทำให้เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องไม่ถูกต้อง การพิจารณาสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน จำเป็นจะต้องพิจารณาเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ

1-67

อีกทั้ง ผู้อ่านต้องมีวิจารณญาณในการแยกแยะ ระหว่างเรื่องที่แต่งขึ้น กับเรื่องจริงในชีวิตประจำวันในออกจากกัน เพราะกระแสดราม่าในโซเชียลตอนนี้ เป็นการใช้ตรรกวิบัตินำเรื่องในชีวิตประจำวันมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่แต่ง ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือ และสร้างความเสียหายความน่าเชื่อถือของหนังสือเรียน ซึ่งมีลิขสิทธิ์อีกด้วย

  • คำใบ้เงินล้าน! เลขเด็ด แม่ตะเคียนทองให้โชค หวยงวดนี้ 2 5 66
  • เลือกตั้ง66 แฉยับ หาเสียง ซื้อเสียง ภูเก็ต เมืองท่องเที่ยว ยอมจ่ายหนักเป็นพัน
  • ดับสยอง! ลูกชายหลอนยา เอาเสียมฟาดหัวพ่อคาบ้าน

ส่วนประเด็น โภชนาการ ที่มีการกล่าวอ้างตามหนังสือดังกล่าวนั้น การกินไข่ต้มครึ่งซีกกับข้าวคลุกน้ำปลา ผัดผักบุ้ง และ ขนมวุ้นกะทิ อาจไม่เพียงพอต่อปริมาณสารอาหารนั้น เป็นเรื่องของการตีความคลาดเคลื่อน ที่เข้าใจว่าเรื่องแต่งในหนังสือเรียนนั้นคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกและคิดว่าเนื้อหาที่นำเสนอในหนังสือเรียนแสดงให้เห็นถึงโภชนาการไม่ถูกต้อง

2-62

ทั้งนี้ เรื่องราวดังกล่าวสืบเนืองจาก มีชาวเน็ตบางรายเผยแพร่ข้อมูลในหนังสือเรียน ภาษาไทยพาที ระดับชั้น ป.5 บทที่ จ เรื่อง “ชีวิตมีค่า” ซึ่งมีเนื้อหา กินไข่ต้มครึ่งซีกเหยาะน้ำปลา หรือ ข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นความพอเพียง เห็นคุณค่าชีวิต จนกลายเป็นกระแสดราม่าในโลกโซเชียล ถึงค่าโภชนาการที่ได้รับ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดในเด็กได้

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ