วิเคราะห์การเมือง : ฮอตฮ้อน การเมือง ผ่านหมอวรงค์ ไทยภักดี เขตจตุจักร หลักสี่

Home » วิเคราะห์การเมือง : ฮอตฮ้อน การเมือง ผ่านหมอวรงค์ ไทยภักดี เขตจตุจักร หลักสี่



คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

ฮอตฮ้อน การเมือง ผ่านหมอวรงค์ ไทยภักดี เขตจตุจักร หลักสี่

ทั้งๆที่ไม่มีรากฐานในกทม. เหตุใดพรรคไทยภักดีจึงลงสู้ในสนาม เขต 9 จตุจักร หลักสี่ หากมองพรรคไทยภักดีแต่เพียง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ก็อาจเกิดข้อสงสัยเช่นนั้นได้ เนื่องจากฐานของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม คือ พิษณุโลก แต่อย่าลืมความสัมพันธ์ของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นั่นก็คือ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เป็น ส.ส.สมัยแรกในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และมีบทบาทเป็นอย่างสูงในห้วงแห่งการเคลื่อนไหวโค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากไม่เข้าใจตรงนี้ก็จะไม่เข้าใจพรรคไทยภักดี เส้นทางของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เมื่อออกจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร เด่นชัดอย่างยิ่งว่า นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เข้าไปดำรงอยู่ในตำแหน่งประธานบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทยอยู่ระยะหนึ่งก่อนออกมาตั้งพรรคไทยภักดี พรรครวมพลังประชาชาติไทย คือ พรรคของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ความหมายของพรรครวมพลังประชาชาติไทยก็คือความหมายของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ คือ ความหมายของมวลมหาประชาชน “กปปส.” ตรงนี้ต่างหากคือฐานอย่างแท้จริงของ “ไทยภักดี” การส่งคนลงสมัครที่เขต 9 จตุจักร หลักสี่ คือ การทวงคืนพื้นที่เดิมมายึดครอง พื้นที่นี้ในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 เคยเป็นของ นายสกลธี ภัททิยกุล พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็คือกำลังสำคัญของกปปส. เพียงแต่ถ่ายโอนไปให้ นายสิระ เจนจาคะ เท่านั้นเอง เมื่อตำแหน่งนี้หลุดไปจากมือของ นายสิระ เจนจาคะ ก็จำเป็นต้องทวงคืนกลับมาเพียงแต่มามอบให้กับพรรคไทยภักดีเท่านั้น เพราะพรรคไทยภักดีคือพันธมิตรของ “กปปส.” หากมองการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 จตุจักร หลักสี่ ก็จะประจักษ์ในเครือข่ายสายสัมพันธ์ เป็นสายสัมพันธ์ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ของ นายสกลธี ภัททิยกุล ของผู้ทรงอิทธิพลจากอ้อมน้อย โยงยาวมายัง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ปัจจัยเหล่านี้เองก่อให้จตุจักร หลักสี่ มีความร้อนแรง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ