วิลเลียมมอบรางวัล “เอิร์ธช็อต” ปีที่ 2 โครงการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นหินชนะด้วย-ซิว 42 ล้าน

Home » วิลเลียมมอบรางวัล “เอิร์ธช็อต” ปีที่ 2 โครงการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นหินชนะด้วย-ซิว 42 ล้าน


วิลเลียมมอบรางวัล “เอิร์ธช็อต” ปีที่ 2 โครงการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นหินชนะด้วย-ซิว 42 ล้าน

วิลเลียมมอบรางวัล “เอิร์ธช็อต” ปีที่ 2 โครงการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นหินชนะด้วย-ซิว 42 ล้าน

วันที่ 3 ธ.ค. บีบีซีรายงานว่า เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ พร้อมด้วยเจ้าหญิงแคตเธอรีน พระชายา พระราชทานรางวัล “เอิร์ธช็อต” (Earthshot) รางวัลสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565 เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ 2 ธ.ค. ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา

The Prince and Princess of Wales on the green carpet at Friday’s awards ceremony in Boston //cr. PA MEDIA

โดยปีนี้มีผู้เข้ารอบทั้งหมด 15 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการร่วมการตัดสินได้แก่ เจ้าชายวิลเลียม เซอร์เดวิด แอตเทนบะระ นักนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เคต แบลนเชตต์ นักแสดงหญิงมากฝีมือชาวออสเตรเลีย ดานี อัลเวส นักฟุตบอลทีมชาติบราซิล เออร์เนส กิบสัน นักรณรงค์ชาวฟีจิ และชากีรา นักร้องชื่อดังชาวโคลอมเบีย โดยโครงการที่ชนะการประกวด 5 โครงการจะได้รับรางวัลเป็นเงิน 1 ล้านปอนด์ (ราว 42.7 ล้านบาท) สำหรับพัฒนาผลงานนวัตกรรมรักษ์โลก

Talal Hasan is the founder of 44.01, a project that promises to turn carbon dioxide into rock //cr.EARTHSHOT PRIZE 2022

 

Charlot Magayi is one of the five Earthshot Prize winners with her stoves fired by cleaner fuels //cr. RONALD GRANT

สำหรับผู้ชนะรางวัลเอิร์ธช็อตสาขา Clean Our Air ฟอกอากาศของเรา คือ ชาร์ล็อต มาการี จากประเทศเคนยา กับผลงาน “มูกูรู คลีน สโตฟ” (Mukuru Clean Stoves) เตาประกอบอาหารที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลที่ทำจากถ่าน ไม้ และอ้อย แทนการใช้เชื้อเพลิงแข็งซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มปริมาณมลพิษทางอากาศซึ่งคร่าชีวิตผู้คนนับล้านคนบนโลกในแต่ละปี

สาขาปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ ได้แก่ โคชิก กัปปากันตุลา จากประทศอินเดีย กับผลงาน “เขยะติ” (Kheyti) เรือนกระจกที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยในการทำเกษตรกรรมท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้าย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

สาขาสร้างโลกที่ปราศจากขยะ ได้แก่ ปิแอร์ ปาสลิเยร์ และรอดริโก การ์เซีย กอนซาเลซ จากสหราชอาราจักร เจ้าของผลงาน “นอตพลา” (Notpla) พลาสติกย่อยสลายได้ที่ทำมาจากสาหร่ายทะเล ซึ่งในปีนี้ทางบริษัทผลิตกล่องใส่อาหารสำหรับร้านอาหารแบบรับกลับบ้านไปมากกว่า 1 ล้านกล่องบนแพลตฟอร์มที่ชื่อว่าจัซต์อีต

สาขาฟื้นชีวิตมหาสมุทรของเรา ได้แก่ เครือข่ายหญิงพื้นเมืองผู้ดูแลแนวประการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟในออสเตรเลีย ซึ่งเปิดอบรมการอนุรักษ์มหาสมุทร ทั้งแบบดั้งเดิม และแบบดิจิตอล โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 60 คน

สาขาแก้ไขสภาพอากาศของเรา ได้แก่ ธาลัล ฮาซาน จากประเทศโอมาน เจ้าของโครงการ “44.01” เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นหินเพอริโดไทต์ซึ่งะบได้มากมายทั่วโลก วิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ต้นทุนต่ำและปลอดภัย แทนการกักเก็บคาร์บอนไว้ใต้ดินในบ่อน้ำมันที่ไม่ได้ใช้แล้ว

โดยนายฮาซานกล่าวว่าทีมของเขาภูมิใจกับรางวัลนี้มาก พวกตนก่อตั้ง 44.01 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพราะเราเห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในโอมาน การชนะรางวัลครั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของตนจะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาด้านนี้

David Beckham arrived at the prize ceremony in Boston //cr. PA MEDIA

ทั้งนี้ รางวัลเอิร์ธช็อตของเจ้าชายวิลเลียมเป็นโครงการระยะยาว 10 ปี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2564 โดยจะสนับสนุนเงินทุนมูลค่า 1 ล้านปอนด์แก่ผู้ชนะ 5 โครงการในแต่ละปี จนถึงปี 2573 เพื่อจูงใจการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ