วิธีป้องกันไฟดูด – ไฟฟ้ารั่ว จากตู้กดน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

Home » วิธีป้องกันไฟดูด – ไฟฟ้ารั่ว จากตู้กดน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

วิธีป้องกันไฟดูด-min

เครื่องใช้ไฟฟ้า ภัยใกล้ตัวที่ต้องระวัง! วิธีป้องกันไฟดูดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และวิธีช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อไฟดูดให้ปลอดภัย

ในช่วงฤดูฝน อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าอาจเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้ เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่น่ากลัว ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งมีข่าวผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าดูดในช่วงฤดูฝนมากมาย วันนี้ ไบรท์ทีวี (BrightTV) จะพาทุกคนมารู้จักวิธีป้องกันไฟดูด – ไฟรั่ว จากเครื่องใช้ไฟฟ้า และวิธีช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูดให้ปลอดภัย ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย!

  • “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้การทำงานของสมองแย่ลง และเป็นโรคประสาทเร็วขึ้น
  • วิธีสังเกตและจัดการความโกรธ ที่อาจลุกลามไปสู่ความรุนแรง
  • “บุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน เรื่องจริงหรือแค่คำหลอกลวงผู้บริโภค ?

วิธีป้องกันไฟดูด

  • หมั่นคอยตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟ ซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด
  • วางสายไฟให้พ้นทางเดิน ไม่ควรวางสิ่งของหนักๆ ทับสายไฟ เพราะอาจทำให้สายไฟขาดหรือชำรุดได้ง่าย
  • ห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ
  • ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภทในเต้าเสียบอันเดียว
  • ต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น (ที่จำเป็น) เพื่อให้ไฟฟ้าลงดิน
  • หากร่างกายเปียกชื้นห้ามแตะอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้สะดวก เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ควรจะติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ผศ. ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำช่วยลดการเกิดเหตุการณ์ไฟดูดจนเสียชีวิตได้

  • ใช้ตู้กดน้ำดื่มที่มีมาตราฐาน และได้รับการรับรอง มอก.
  • ติดตั้งตู้กดน้ำดื่มในที่แห้ง และฝนสาดไม่ถึง
  • หากมีความร้อนหรือประกายไฟ ควรหยุดใช้ทันที
  • ติดตั้งเครื่องตัดกระแสรั่ว และสายดิน

ผศ. ดร.ชาญณรงค์ ระบุว่า การติดตั้งสายดิน และติดตั้งเครื่องตัดกระแสรั่วเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสามารถช่วยลดปัญหาการเกิดไฟดูดได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะสายดินจะทำให้โครงของตู้มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ และหากมีกระแสรั่วตามกลไกการทำงาน เครื่องดังกล่าว จะสามารถตัดแหล่งจ่ายไฟฟ้าได้ทันที ซึ่งเบรกเกอร์ทั่วไปทำไม่ได้ จึงแนะนำว่าให้ทุกโรงเรียนหรือทุกสถานที่ที่มีตู้กดน้ำดื่ม ควรติดตั้งเครื่องตัดกระแสรั่วและสายดิน และกรณีที่ฝนตก พื้นบริเวณตู้มีน้ำเจิ่งนอง หรือตัวเปียกฝน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน

วิธีช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟดูด

  1. ตั้งสติ นึกถึงความปลอดภัยของตัวเอง และประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  2. ตัดกระแสไฟในที่เกิดเหตุทันที ยกเว้นสายไฟแรงสูงให้แจ้งเจ้าหน้าที่
  3. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ไม้แห้ง เขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟออกจากตัวผู้ได้รับบาดเจ็บ
  4. เคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังบริเวณพื้นที่ปลอดภัยอย่างถูกวิธี
  5. หากผู้ได้รับบาดเจ็บจากไฟบ้านทั่วไปที่กระแสไฟฟ้าไม่แรงมากนัก บาดแผลไม่ลึก ไม่มีอาการผิดปกติ ปฐมพยาบาลและสังเกตอาการที่บ้านได้ และหากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  6. ตรวจสอบระดับการตอบสนอง หากผู้ได้รับบาดเจ็บหมดสติ และอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นต้องรีบทำ CPR ทันที
  7. โทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ