หากพบเห็นคนที่ออกกำลังกายแล้วจู่ๆ ก็ล้มลงไป พร้อมกับอาการเจ็บหน้าอก รีบเข้าช่วยเหลือก่อนสายเกินแก้ เพราะเขาอาจหัวใจหยุดเต้นขณะเล่นกีฬา
- เช็กเลย! คุณเป็นกลุ่มเสี่ยง “ภาวะหัวใจหยุดเต้น” ขณะเล่นกีฬาหรือไม่?
อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า นักกีฬาที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันขณะเล่นกีฬา การกดหน้าอกและกระตุ้นหัวใจผู้ป่วยทันทีจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้โดยมีหลักการในการปฏิบัติ ดังนี้
(แนะนำสวมหน้ากากอนามัยทั้งผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือเพื่อป้องกันการสัมผัสแลแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19)
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อเกิด “ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะเล่นกีฬา”
- เมื่อพบเห็นว่านักกีฬาหมดสติให้เรียกทีมแพทย์ทันที หรือโทร 1669 พร้อมขอเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)
- เริ่มกดหน้าอกทันที “กดสุด อย่าหยุด กดปล่อย” 100-120 ครั้งต่อนาที
- ใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ทันทีเมื่อเครื่องมาถึง โดยทำตามคำแนะนำของเครื่อง
- กดหน้าอกต่อเนื่อง สลับกับการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ทุก 2 นาที จนทีมกู้ชีพมาถึง
การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน และนักกีฬาที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และตรวจคัดกรองความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น