ประโยชน์ของวิตามินซี ต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ค้นพบกันมาแล้วเป็นเวลานาน ในเมืองไทยเอง ย้อนไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีวิจัยในสมัยนั้นที่พบว่า กรดผลไม้ชนิดนี้ช่วยลดความรุนแรงของโรคปอดอักเสบได้ และตั้งแต่บัดนั้น ก็มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยมา
วิตามินซีมีประโยชน์อย่างไร
โดยการศึกษาทางห้องปฏิบัติการก็พยายามหาว่า วิตามินซีออกฤทธิ์หรือทำปฎิกิริยาอย่างไร จนในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์สุขภาพก็พอจะรู้ว่า วิตามินซีเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสร้างคอลลาเจน ที่จะนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ ไทโรซีน คาร์นิทีน และวิตามินซียังช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย
ในทางการแพทย์ก็พยายามหาคำตอบเช่นกันว่า วิตามินซีพอจะช่วยป้องกันและรักษาโรคอะไรได้บ้างในทางคลินิก จนเป็นรูปเป็นร่างก็เมื่อพุทธศักราช 2520 ทางการแพทย์เราก็พอรู้แล้วว่า วิตามินซีช่วย “ป้องกัน”(ไม่ใช่รักษา) โรค เช่น ไข้หวัด โดยคิดว่าป้องกันการอักเสบ หลักการนี้ได้มีการนำไปต่อยอดในการ “ป้องกัน” (ไม่ใช่รักษา) โรคที่เซลล์อักเสบ รวมถึงเซลล์แบ่งตัวผิดปกติที่เรียกกันว่าเซลล์มะเร็งด้วย โดยเมื่อดูจากงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถสรุปได้เป็นหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
- ไข้หวัดจากไวรัสระดับไม่รุนแรงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือภาวะหายใจล้มเหลว (ARDS) ใดๆ ได้เลย
- โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูง
- โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน – งานวิจัยอื่นๆ ยังไม่ใช่ RCT)
มีเท่านี้ และเป็นเพียง “องค์ประกอบ” การ “ป้องกัน” เท่านั้น ไม่มีผลชัดเจนเรื่องรักษาหรือเป็นยาหลักในการรักษาแต่อย่างใด (มีงานวิจัยที่ ช่วยรักษาหรือป้องกันการลุกลามมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่ใช้โดส (Dose) สูงมากๆ รวมถึงผลการรักษาก็ไม่ได้เป็นที่ประจักษ์ จึงไม่นิยมใช้
วิตามินซีแบบฉีดจะลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ อิริโทรมัยซิน คานามัยซิน สเตร็ปโตมัยซิน ด็อกซีซัยคลิน และลินโคมัยซิน รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ วาร์ฟาริน
วิตามินซีอยู่ในรูปแบบใดบ้าง
- ผักผลไม้ พริกหวานแดงบร็อคโคลี่ ฟักใดๆ มีวิตามินซี ไม่ได้มีแต่ผักผลไม้รสเปรี้ยว
- เม็ด เม็ดอม เม็ดฟู่ เคี้ยวก่อนกลืน ระวังการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- น้ำกรด ก็สายละลายแบบฉีด ยกตัวอย่าง องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้รับรองวิตามินซีในรูปแบบฉีดล่าสุดเมื่อปี 2559 วางจำหน่ายในปี 2560 ในขนาด 25,000 มก.ในขนาดบรรจุ 50 มลหรือ500 มก.ใน 1 มล. โดยมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด โดยขนาดของวิตามินซีที่ฉีดต้องคำนวณตามอายุ และแนะนำให้ละลายกับน้ำเกลือใดๆ ก่อนฉีดลดโอกาสอาการปวด บวมที่เส้นเลือดขณะฉีด ทั้งปวงไม่ควรฉีดเกิน 1 สัปดาห์ “เท่านั้น”
ใครไม่ควรได้รับวิตามินซีฉีดเสริม
- คนปกติ (จะเจ็บตัวทำไม)
- G6PD Deficiency (ภาวะขาดเอ็นไซม์จีซิกพีดี) ควรตรวจก่อนฉีดขนาดสูงทุกคน
- นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากวิตามินซีขนาดสูงๆ หากได้รับติดต่อกันนานๆ โอกาสนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะสูงขึ้นได้ ในทางเวชปฏิบัตินั้นไม่ได้พบบ่อย และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ก็ไม่ได้ขึ้นวิตามินซีเป็นอาหารหรืออาหารเสริมพึงระวัง ในคนไข้นิ่วแต่อย่างใด (เป็นอาหารกลุ่มพิวรีนเช่นเดิม)
ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำอย่างน้อยที่สุดต่อวัน
- แรกเกิดถึงขวบแรก ไม่เกิน 50 มก.
- เด็กหญิง-เด็กชาย 25-75 มก.
- วัยรุ่น 75 มก.
- ตั้งครรภ์ 80 มก.
- ให้นมบุตร 120 มก.
- ผู้ใหญ่ 500 มก.
วิตามินซีในขนาดสูง 2 กรัมต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์ (ที่มีประสบการณ์จ่ายวิตามินซี “เพื่อการรักษา”) ก่อน โดยวิตามินซีขนาดสูงมากที่สุดไม่ควรเกิน 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม
ด้วยตัววิตามินซีกระตุ้นระบบการสร้างน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ควรระวังในผู้ป่วยเบาหวาน
ล่าสุดมีงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ นำวิตามินซี+สเตอรอยด์แบบฉีด+วิตามินบี 1 เทียบกับกลุ่มที่รักษาแบบใช้สเตอรอยด์ฉีดอย่างเดียวในผู้ป่วยวิกฤตจากติดเชื้อในกระแสเลือดว่า ผลจะเป็นอย่างไร ขณะนี้งานวิจัยที่กล่าวถึงยังไม่เสร็จสิ้น ตอนนี้ต้องรอกันต่อไป
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
- ถ่ายเหลว
- แสบเส้นเลือดที่โดนฉีด
- แพ้ ที่พบบ่อยคือผื่นลมพิษ (Urticaria) รองลงมาก็คือการแพ้รุนแรงถึงขั้นวิกฤติ Anaphylactic Shock ไม่เคยมีรายงาน TEN หรือ Steven Johnson Syndrome
วิตามินทุกอย่างอยู่ในอาหารหมดแล้ว อาหารเสริมควรรับประทานหรือเข้าร่างกายแต่พอดี