วิกฤติ PM 2.5 เชียงใหม่-ประเทศไทย ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก

Home » วิกฤติ PM 2.5 เชียงใหม่-ประเทศไทย ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก


วิกฤติ PM 2.5 เชียงใหม่-ประเทศไทย ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก

วิกฤติ PM 2.5 เชียงใหม่-ประเทศไทย ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก คุณภาพอากาศย่ำแย่ มลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง

วันนี้ (26 มี.ค. 66) รายงานจากเว็บไซต์ IQAir ณ เวลา 10.30 น. เรื่องคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ ล่าสุด ‘เชียงใหม่-ประเทศไทย’ ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก ตามด้วย ปากีสถาน, กานา, อินเดีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

นับเป็นวิกฤติ PM 2.5 ที่รุนแรงใน ‘เชียงใหม่-ประเทศไทย’ โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) 218 อยู่ในโซนสีม่วง มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง อีกทั้งความเข้มข้น PM2.5 ในเชียงใหม่ขณะนี้เป็น 33.4 เท่าของค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลก

ภาพ จัดอันดับเมืองคุณภาพอากาศดี แบบสด

ภาพ จัดอันดับเมืองคุณภาพอากาศดี แบบสด จาก IQAir

โดย ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้รายงาน การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ
ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2566 ณ 07:00 น ว่า ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน 21 จังหวัด ดังนี้

จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.บึงกาฬ จ.หนองคาย จ.เลย จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ จ. อุบลราชธานี

รายงานตามภูมิภาค ดังนี้

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 – 459 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 32 – 160 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 17 – 40 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9 – 22 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 13 – 20 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 16 – 46 มคก./ลบ.ม.
รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2566 ณ 07:00

ภาพจาก ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

สถานการณ์ PM2.5 พื้นที่ภาคเหนือ 26 มี.ค. 66

ภาพจาก ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

คำแนะนำทางสุขภาพในสถานการณ์มลพิษทางอากาศ

  1. ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
  2. ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์
  3. สำหรับประชาชน​ที่อยู่​บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ​ (พื้นที่สีแดง)​ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ที่มา : IQAir , ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ