หลังจากที่เด็กๆ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาแล้ว การสอนการบ้านก็กลายเป็นหลักสูตรบังคับสำหรับผู้ปกครองไปด้วย และมีหลายครั้งที่รู้สึก “หัวจะปวด” เมื่อต้องเผชิญกับโจทย์ในการบ้านเด็กๆ
ไม่นานมานี้ มีคุณแม่คนหนึ่งพบว่าคุณครูตรวจการบ้านของลูกชาย “ผิดพลาด” ซึ่งทำให้เธอโกรธมาก เพราะมันเป็นเพียงการคำนวณคณิตศาสตร์ง่ายๆ ซึ่งโจทย์ถามว่า 1.2+6.8=? และลูกชายของเธอเขียนคำตอบว่า 8 แต่กลับให้กากบาทมาตัวโตๆ
ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวคุณแม่ต่อสายหาคุณครูในคืนนนั้นเลย ซึ่งเมื่อฝ่ายครูได้รับฟังปัญหาจนจบ ก็พยายามปลอบให้ผู้ปกครองใจเย็นลงก่อน แล้วจึงอธิบายว่า
“จุดประสงค์ของคำถามในบทเรียนนี้เพื่อให้เด็กๆ ใส่ใจกับจุดทศนิยม แนวคิดและสูตรการแก้ปัญหาของนักเรียนนั้นถูกต้องแต่ในคำตอบสุดท้ายเขาไม่ได้ใส่จุดทศนิยม จึงถือว่าเป็นการเขียนคำตอบที่ผิด”
หลังจากได้รับฟังคำชี้แจงจากทางคุณครูผู้สอน คุณแม่ก็เข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการสอนที่ใส่ใจในรายละเอียด เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ไปทีละขั้นตอน อีกทั้งยังตระหนักได้ว่าควรกล่าวขอโทษครูอย่างจริงใจด้วย
ทั้งนี้ ทั้งผู้ปกครองและคุณครูต่างก็มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็กๆ จำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะได้รับการดูแลและการศึกษาที่ครอบคลุม อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจเกิดปัญหาจากความเข้าใจไม่ตรงกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเกิดปัญหาแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ทั้งผู้ปกครองและครูควรตระหนักว่าเป้าหมายของพวกเขาคือการทำงานร่วมกัน ให้แน่ใจว่าเด็กๆ ได้รับการดูแลและคำแนะนำทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อการเติบโตและพัฒนาการของพวกเขา