ลังเลใจ!! วัคซีนโควิด-19 ยังต้องฉีดกระตุ้นอีกหรือไม่??

Home » ลังเลใจ!! วัคซีนโควิด-19 ยังต้องฉีดกระตุ้นอีกหรือไม่??

6วัคซีนโควิด

หมอยง ไขข้อสงสัย สำหรับคนกำลังลังเลใจ วัคซีนโควิด-19 ยังต้องฉีดกระตุ้นอีกหรือไม่?? ย้ำ โควิด-19 ยังอยู่กับเรา ไม่ได้หายไปไหน

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 ทางด้านหมอยง หรือ  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ว่าเราควรฉีดเพิ่มอีกหรือไม่ เป็นหนึ่งคำถามที่เจอบ่อยในช่วงนี้ เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงก็จริง แต่เชื่อโควิด-19 ยังอยู่ ไม่ได้หายไปไหน

  • ภาพยนตร์ย้อนวัยมัธยม “My Precious รักแรกลืมโคตรยาก”
  • สมศักดิ์ มั่นใจ พรรคเพื่อไทย เลือกตั้ง66 ปักธงใต้ ได้เสียงแน่นอน
  • ปัญหาโลกแตก! หนุ่มโวย เพื่อนบ้าน จอดรถปิดเลนถนนไม่พอ ยังทำหลังคายื่นออกมาอีก

เป็นคำถามที่ถามบ่อยมาก วันนี้เราจะฉีดวัคซีนโควิด 19 อีก ดีหรือไม่ บางคนเกิดความลังเลใจก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่าโรคโควิด 19 อยู่กับเรา และกำลังเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล ไม่ได้หายไปไหน

doctor-vaccinating-patient-clini

ตามฤดูกาล ระยะนี้จะเป็นระยะสงบของโรค เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ และตามฤดูกาลจะไปเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน นักเรียนเปิดเทอม นักเรียนจะเป็นผู้ขยายโรคให้มีการระบาดเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดจากไข้หวัดใหญ่ ฤดูกาลของการฉีดไข้หวัดใหญ่จึงเป็นก่อนฤดูฝนหรือก่อนนักเรียนเปิดเทอมของทุกปี

ในทำนองเดียวกัน เมื่อโควิด 19 เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล วัคซีนก็ควรจะได้รับก่อนที่จะมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม ประเทศไทยจะเป็นช่วงที่โรคสงบ อย่างไรก็ตามวัคซีนประจำปีควรได้รับตั้งแต่ปลายเมษายนจนถึงพฤษภาคมเพื่อไปรองรับ ในฤดูฝนหรือช่วงนักเรียนเปิดเทอม

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนอย่างยิ่งคือกลุ่มเสี่ยง ที่เมื่อติดโรคแล้ว จะรุนแรง ดังนั้น
จากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาของศูนย์พบว่า

ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม ร่วมกับการติดเชื้อมาแล้ว ภูมิต้านทานจะอยู่ในระดับที่สูงมากและอยู่นานเกิน 6 เดือน ยังมีระดับที่ค่อนข้างสูง ในกลุ่มเสี่ยง ที่ยังไม่เคยติดเชื้อ ควรได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีน หลังจากเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือนแล้ว เพื่อยกระดับภูมิต้านทานให้สูงขึ้นและเตรียมรองรับโควิด 19 ประจำฤดูกาล

อย่างไรก็ตามกลุ่มเสี่ยงที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ถึงแม้ว่าภูมิจะอยู่ในระดับสูง เราก็คงจะปรับวิธีการให้วัคซีน เข้าสู่วัคซีนประจำฤดูกาล คือให้ทุกปีในปลายเดือนเมษายนต่อพฤษภาคมของทุกปีเพื่อป้องกันการระบาดในฤดูฝน

ส่วนในเด็กหรือวัยทำงานที่มีร่างกายแข็งแรงดีไม่มีโรคประจำตัว และได้รับวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม และยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน หรือเคยติดเชื้อแต่ไม่เคยได้รับวัคซีน ก็สามารถปรับให้การให้วัคซีนเป็นแบบประจำปีไปได้เลย

ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดีได้รับวัคซีนมาแล้ว 3 เข็มเป็นอย่างน้อยร่วมกับการติดเชื้อ จะยังไม่รับวัคซีนรอไปฤดูกาลหน้าก็มีความเป็นไปได้ แต่เมื่อได้รับเชื้อก็อาจจะมีการติดเชื้อแต่ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง

แต่ละคนควรจะพิจารณาความเสี่ยงของตัวเองในการเกิดโรคแล้วจะรุนแรงโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุ กับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล

ติดตามข่าวสาร Bright today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY



แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ