ลดลง 79 เรื่อง! คพ.เผยแจ้งร้องเรียนมลพิษ 706 เรื่องปี 64 ทางอากาศมากสุด

Home » ลดลง 79 เรื่อง! คพ.เผยแจ้งร้องเรียนมลพิษ 706 เรื่องปี 64 ทางอากาศมากสุด


ลดลง 79 เรื่อง! คพ.เผยแจ้งร้องเรียนมลพิษ 706 เรื่องปี 64 ทางอากาศมากสุด

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เผย การติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษ ปี 64 แจ้งเรื่องร้องเรียน 706 เรื่อง ลดลงจากปี 2563 จำนวน 79 เรื่อง

วันที่ 7 ก.พ. 2565 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษ ในปี 2564 คพ. ได้เข้าตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ที่มีปัญหาวิกฤตคุณภาพน้ำ เช่น คลองแสนแสบและคลองสาขา คลองแม่ข่า คลองประดู่ ลุ่มน้ำแม่กลอง คลองเจดีย์บูชา จ.นครปฐม แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก เป็นต้น รวม 900 กว่าแห่ง

” เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่น้ำทิ้งมีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน 532 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.76 และมีแหล่งกำเนิดมลพิษที่น้ำทิ้งมีค่าเกินค่ามาตรฐาน 389 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 42.24 คพ.ใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่น้ำทิ้งมีค่าเกินมาตรฐาน โดยการออกคำสั่งทางปกครองให้จัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด “

อธิบดีคพ.

นายอรรถพล กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการแก้ไขเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ ปี 2564 คพ. ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษทั้งหมด 706 เรื่อง ลดลงจากปี 2563 จำนวน 79 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 557 เรื่อง คือเป็นร้อยละ 79 ปัญหามลพิษที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ มลพิษทางอากาศ ร้อยละ 84 รองลงมาคือ น้ำเสีย ร้อยละ 10 และมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและของเสียอันตราย และอื่นๆ ร้อยละ 6 โดยแหล่งที่มาของปัญหาเรื่องร้องเรียนมากที่สุด ยังคงเป็นโรงงาน ร้อยละ 43 รองลงมา คือ สถานประกอบการ ร้อยละ 32

นายอรรถพล กล่าวด้วยว่า เพื่อให้ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับปัญหามลพิษเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ คพ. จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่ง แวดล้อม (ศปก.พล.) ขึ้น เป็นศูนย์เฉพาะกิจในการติดตาม ตรวจสอบ

ปัญหามลพิษ

ดำเนินการตามกฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปล่อยมลพิษทั้งน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ กลิ่นเหม็น เสียงดัง ขยะพิษต่างๆ การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม และการนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายที่ก่อมลพิษจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นวงกว้าง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหามลพิษให้กับประชาชนต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ