ร้อยเวร สน.สำโรงใต้ หัวหมอ! นัดเจรจาคดีเช็คเด้ง สุดท้าย เชิดเงินหนี

Home » ร้อยเวร สน.สำโรงใต้ หัวหมอ! นัดเจรจาคดีเช็คเด้ง สุดท้าย เชิดเงินหนี

ร้อยเวร สน.สำโรงใต้ อมเงิน (1)-min

สาววัย 34 ร้องสายไหมต้องรอด ถูกร้อยเวรหัวหมอ เชิดเงิน คดีเช็คเด้ง ชำระหนี้จนหมด แต่ร้อยเวรกลับอมเงินทั้งหมดไว้ไม่ส่งคืนเจ้าหนี้

วันที่ 6 ต.ค. 2567 น.ส.วนิศา (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี ร้องขอความช่วยเหลือ จากนายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด เนื่องจาก ถูกตำรวจ สน.สำโรงใต้ โกงเงิน 30,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ลูกหนี้ของเธอฝากให้มาใช้หนี้ผ่านตำรวจ โดยผู้เสียหาย เล่าว่า ตนเองทำธุรกิจโรงกลึง ในอำเภอแพรกกระสา จ.สมุทรปราการ แต่เมื่อปี 2564 ถูกและมีลูกค้ารายหนึ่งจ่ายเช็คเด้งมูลค่า 642,252.10 บาท ให้กับเธอ เธอจึงไปได้แจ้งความดำเนินคดีที่สน.สำโรงใต้

ร้อยเวร สน.สำโรงใต้ อมเงิน (3)-min

โดย ร.ต.อ.ปัญญาพล รองสารวัตรสืบสวนสอบสวน เป็นผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าวและมีการเจรจาไกล่เกลี่ย จนคู่กรณียอมชดใช้เงินคืนให้เต็มจำนวนและทำบันทึกข้อตกลง ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 โดยทุกครั้งที่ผ่านมาลูกหนี้นำเงินมาคืนจะต่อหน้าตำรวจ และเธอจะแบ่งเปอร์เซ็นรองสารวัตร 10%ของยอดเงินทั้งหมด

ผู้เสียหายยืนยันที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเลย ลูกหนี้ใช้หนี้ได้เกือบ 3 แสนบาทแล้ว กระทั้งเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เธอไม่สามารถติดต่อรองสารวัตรได้เลย จึงเดือนกันยายน อดีตสามีของเธอไปสอบถามจากลูกหนี้คนดังกล่าวถึงเงินที่เหลือ ก็บอกว่านำเงินมาฝากไว้กับตำรวจแล้วตั้งแต่ 22 กรกฎาคม จำนวน 2 หมื่นบาท

  • อีกแล้ว! สหรัฐฯ เตือน ชายฝั่งฟลอริดา เตรียมรับมือ พายุลูกใหม่ 10 ต.ค.
  • นายกฯ ตอบคอมเมนต์ หลังถูกแซะ! ยืนแถลงข่าว แต่ก้มหน้าอ่านคริปต์ฉ่ำ
  • สาวสุดช้ำ! ถูกสามีตำรวจยศใหญ่ แอบคบชู้กับ เจ้าของแบรนด์ดังในติ๊กต๊อก

และเมื่อวันที่ 6 กันยายน จำนวน 10,000บาท เธอและอดีตสามีก็งง และพยายามติดต่อไปสอบถามยังรองสารวัตรคนดังกล่าว จนเจ้าตัวยอมรับว่าเงินอยู่ที่ตนจริง 30,000 บาท และนัดไปเอาสิ้นเดือนกันยายนเพราะลูกหนี้จะเอาเงินมาใช้เพิ่มอีกก้อนหนึ่ง

ร้อยเวร สน.สำโรงใต้ อมเงิน (2)-min

แต่พอถึงสิ้นเดือนกันยายน ตำรวจคนดังกล่าวก็ไม่ติดต่อมา ทำให้จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้เงินและไม่สามารถติดต่อตำรวจได้ ทำให้เธอกังวลว่าจะไม่ได้เงิน 30,000 บาทคืน และทำให้ลูกหนี้ใช้เป็นข้ออ้างในการเบี้ยวไม่จ่ายหนี้ที่เหลือจนหมดอายุความ

โดยนายเอกภพ กล่าวว่า ความจริงแล้วตำรวจไม่ควรรับเงินจากผู้เสียหาย แต่ตนเข้าใจว่า 10% ผู้เสียหายเต็มใจจะให้เป็นสินน้ำใจ จึงขอให้รองสารวัตรนำเงินมาคืน เพราะเข้าข่ายความผิดฐานยักยอกเงิน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ