
ทำล่วงเวลาแต่ไม่จ่ายค่าจ้าง : ลูกจ้างรอให้มีการเลิกจ้างก่อนจึงไปฟ้องคดีเรียกค่าล่วงเวลา และค่าทำงานที่ค้างจ่ายก็สามารถทำได้
หลักการทางกฎหมายที่กำหนดว่าเมื่อลูกจ้างทำงาน “เกิน” หรือ “นอกเหนือ” จากเวลาทำงานปกติ ซึ่งทั่ว ๆ
คือ 8 ชั่วโมง ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าล่วงเวลา หรือค่า OT
แล้วใครจะกล้าไปฟ้องหรือไปร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานอันนี้ก็ถูก..
คดีนี้ ลูกจ้างรอให้มีการเลิกจ้างก่อนจึงไปฟ้องคดีเรียกค่าล่วงเวลา และค่าทำงานที่ค้างจ่ายก็สามารถทำได้
(แต่ต้องเก็บหลักฐานใว้ให้ดี)
เรื่องมีอยู่ว่าลูกจ้างทำงานเป็นเลขานายจ้างได้เงินเดือน ๆ ละ 18,000 บาท ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันเสาร์
“ทำงานวันละ 11 ชั่วโมง” และต้องทำงานในเวลาพักเที่ยงด้วย
กรณีนี้จึงเท่ากับว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 11 ชั่วโมง คือ เกินจากเวลาทำงานปกติ 2 ชั่วโมง
และเวลาพักอีก 1 ชั่วโมง
รวมการทำงานตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2549 รวมทั้งสิ้น 270 ชั่วโมง
นอกจากนั้นเมื่อออกจากงานนายจ้างยังค้างจ่ายค่าจ้างอีก 8 วัน จึงต้องจ่ายให้ลูกจ้างจำนวน 4,800 บาท
พร้อมอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย

ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๕๔/๒๕๕๗
-อบรม PDPA หรือพาทำ PDPA หรือ กม แรงงาน แบบอินเฮาส์ สอบถามไลน์ labourlaw
ข่าวที่น่าสนใจ
- นายกฯ เผย พม่าขอโทษแล้ว ไม่ได้ตั้งใจ แค่ตีวงเลี้ยวกว้างไปหน่อย กรณี Mig 29 พม่า
- หมดปัญหาออกแบบบ้านผิดฮวงจุ้ย ซินแสเช็กงานตั้งแต่ออกแบบจะได้ไม่ต้องแก้
- สหรัฐฯ จ่อ Apple – Android แบน Tiktok ออกมาจากแพลตฟอร์ม
- เกิดวันตามนี้ งวดนี้รวย และ 6 ราศี ดาวมฤตยูย้าย ดวงดี ถึงขีดสุด หมอบอย…