รู้ไว้ไม่ผิด! เผย วิธีเอาตัวรอดจาก สึนามิ ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัย

Home » รู้ไว้ไม่ผิด! เผย วิธีเอาตัวรอดจาก สึนามิ ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัย

วิธีเอาตัวรอดหากประสบภัย สึนามิ 14 ข้อง่ายๆ ขอแค่มีสติ ก็สามารถช่วยครอบครัวและตนเองให้ปลอดภัยได้ หากเกิด สึนามิ ปฏิบัติตามนี้

จากกรณี แผ่นดินไหว บริเวณใกล้ ภูเก็ต และโซน หมู่เกาะอันดามัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีการเตือนภัยจากหลายแห่งและประชาชนหวาดกลัว หวั่นเกิด สึนามิ อีกครั้ง เนื่องจาก แผ่นดินไหว นั้นเกิดขึ้นติดต่อกันกว่า 32 ครั้งแล้ว และยังมีประเด็นเรื่อง ทุ่นเตือนสึนามิ ไม่ทำงานจำนวน 2 ทุ่นและทั้ง 2 ทุ่นเคยหลุดออกจากรัศมีการส่งข้อมูล จึงค่อนข้างน่าเป็นห่วง หากเกิด แผ่นดินไหว รุนแรงขนาด 7 ขึ้นไป แต่เบื้องต้นรายงานว่า แผ่นดินไหว ครั้งนี้ ไม่สามารถทำให้เกิด สึนามิ

Closeup shot of a beautiful blue sea wave Free Photo
ขอขอบคุณรูปภาพ : freepik

ซึ่งหากเกิด สึนามิ ขึ้นจริง ประชาชนทุกคนควรดึงสติและทำให้ตนเองอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยให้ได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ประชาชน ผู้คนส่วนใหญ่มักตื่นตระหนกกับเรื่องราวตรงหน้า หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่น สึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว โดย กรมอุตุนิยมวิทยา นั้นได้ให้ข้อมูลและให้ความรู้ 14 วิธีการเอาตัวรอด

Storm waves roll on the breakwater Premium Photo
ขอขอบคุณรูปภาพ : freepik

มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ

  • เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
  • เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
  • สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง
  • ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก
  • คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้
  • ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
  • หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
  • หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
  • วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
  • จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
  • ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
  • วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
  • อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน
  • คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์
Aerial view of flooded houses with dirty water of dnister river in halych town, western ukraine. Premium Photo
ขอขอบคุณรูปภาพ : freepik

ขอบคุณข้อมูล : www.tmd.go.th

อ่านข่าวที่น่าสนใจ

  • ทุ่นเตือนสึนามิ ขั้นตอนการทำงาน สรุปง่ายๆผ่านนิทานเรื่อง ทุ่น-หนู-งูเห่า
  • #สึนามิ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง หลังเกิดเหตุ แผ่นดินไหว ติดต่อกัน 32 ครั้ง
  • จับตา! ใกล้ ภูเก็ต หวั่นเกิด สึนามิ หลังแผ่นดินไหวรอบที่ 32 เช้าวันที่ 06 ก.ค. 65

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ