รู้หรือไม่? ปี 2567 มีทั้งหมด 366 วัน เดือนกุมภาพันธ์นี้ มีวันที่ 29

Home » รู้หรือไม่? ปี 2567 มีทั้งหมด 366 วัน เดือนกุมภาพันธ์นี้ มีวันที่ 29
วันที่ 29 กุมภาพันธ์-min

รู้หรือไม่? ปี 2567 มีทั้งหมด 366 วัน เปิดความหมายและจุดกำเนิดของ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง และใช้การคำนวณอย่างไร

ในที่สุดก็เข้าสู่ปี 2567 หรือปี 2024 กันแล้ว สำหรับการเปลี่นผ่านไปในแต่ละปีนั้นต้องบอกว่าแต่ละประเทศ ต่างก็มีวิธีการเฉลิมฉลองที่ต่างกัน หรือแม้แต่ไทม์โซนแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทั้งโลกเหมือนกันนั้นก็คือ การนับจำนวนวันในแต่ละปี ซึ่งแต่ละปีจะมีกำหนดอยู่ที่ 365-366 วัน และใช่เลย ใน ปีใหม่ 2567 นี้ จะมีวันด้วยกันทั้งสิ้น 366 วัน และ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จะตรงกับวันพฤหัสบดี นั้นเอง

โดยวันที่หายไปนั้นคือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ซึ่งหลายคนคงรู้กันอยู่แล้วว่าวันนี้ เป็นวันที่ 4 ปีมี 1 ครั้ง แต่รู้หรือไม่ ว่าวิธีการนับและต้นกำเนิดของวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นั้นเกิดจากอะไร วันนี้ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จะขอมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ

เดือนกุมภาพันธ์คือเดือนน้องเล็กคนสุดท้อง

กำเนิดเดือนกุมภาพันธ์ ถือกำเนิดพร้อมเดือนมกราคม โดยจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล จากเดิมที่ปฏิทินโรมันมีแค่ 10 เดือน รวมเป็นวันทั้งหมด 304 วัน แบ่งเป็นเดือน Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบกันแล้วก็คือ มีนาคม ถึง ธันวาคม แบบเดียวกับในปัจจุบันนั่นเอง

แต่จะมีบางปีที่ทดเดือนพิเศษเข้ามาเพื่อให้มีวันใกล้เคียงตามสุริยคติ แต่ทางด้าน จูเลียส ซีซาร์ รู้สึกว่ามีความไม่เหมาะสม จึงเพิ่มเดือนเข้าไป 2 เดือน นั่นก็คือ January และ February เทียบเป็นแบบปัจจุบัน คือ มกราคมและกุมภาพันธ์

ในช่วงแรกของการเปลี่ยนปฏิทิน กำหนดให้แต่ละเดือนมี จำนวน 30 และ 31 วันคละกันไป ยกเว้นให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน แต่ก็ยังมีการยกเว้นในปีที่เป็น อธิกสุรทิน ปีที่ปฏิทินมี 366 วัน ก็จะให้กุมภาพันธ์มี 30 วัน และในอดีตเดือนสิงหาคม มีเพียง 30 วัน

  • เลขนำโชค 12 นักษัตร ปี 2567 ทำตามนี้ ได้ผลดีแน่นอน!
  • “หมอแก้ว” จัดอันดับ คนดวงดี ประจำปี 67 การงาน – การเงิน – ความรัก
  • ปี 67 ฮวงจุ้ยโลกเข้าสู่ยุค 9 ธาตุไฟ 12 นักษัตร เช็กดวงด่วน!

ทำไมบางปีเดือนกุมภาพันธ์ต้องมี 29 วัน ?

จริงๆแล้วใน 1 วันหากนับกันแบบละเอียด จะมีแค่ 23.56.1 ชั่วโมง และ 1 ปี มี 365.24224 วัน ไม่ใช่ 24 ชม. และ 365 วันอย่างที่เรานับกันถ้วนๆ ส่งผลให้ทุก 4 ปี จะมีเศษเวลารวมแล้วประมาณ 1 วัน จึงเกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพื่อชดเชยเวลาดังกล่าว และเพื่อให้การนับสอดคล้องกับตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ โดยปีที่มี 366 วัน จะเรียกกันว่าปี “อธิกสุรทิน” หรือ Leap year

ต่อมาจึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนปฏิทินขึ้นใหม่อีกครั้ง เรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน (Modern Gregorian Calendar) โดยพระสันตปาปาเกรโกรีที่ 13 เป็นผู้ประกาศใช้และเริ่มใช้ในปีเดียวกัน

ปีไหนจะมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์บ้าง?

คิดได้ง่ายๆ คือ ถ้าปีคริสต์ศักราชใดหารด้วย 4 ลงตัว ก็จะเป็นปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ แต่การเพิ่มวันทุก 4 ปี ก็ทำให้ทุก 400 ปี มีวันเกินไปราว 3 วัน เพื่อชดเชยกรณีนี้ ปีที่สิ้นสุดศตวรรษจึงมิใช่ปีอธิกสุรทิน ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธี ที่ไม่ต้องคำนวณ ให้จำเป็นปีนักษัตรที่ 1 5 และ 9 ซึ่งก็คือ ปีชวด (หนู) ปีมะโรง (มังกร) และปีวอก (ลิง) ทั้งปี 3 นักษัตรนี้ เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ