เราทุกคนทราบกันดีว่าบุหรี่ให้โทษต่อร่างกายของผู้สูบและควันบุหรี่ก็เป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน เพราะควันจากบุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด และยังมีสารก่อมะเร็งถึง 60 ชนิด อาทิ นิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ แอมโมเนีย สารกัมมันตรังสี ฯลฯ ที่ส่งผลและก่อให้เกิดโรคเรื้อรังและโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
“บุหรี่” ร้ายทำลายมากกว่า “ปอด”
การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ โดยความรุนแรงของโรคก็ขึุ้นอยู่กับระยะเวลาในการสูบบุหรี่ และปริมาณที่สูบบุหรี่ต่อวัน
โรคอันตรายที่บุหรี่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ หรืออาการแย่ลง
โรคที่บุหรี่เป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง เช่น
- มะเร็งในช่องปาก (รวมถึงส่วนต่างๆ ในลำคอ เช่น ลิ้น เพดานอ่อน ต่อมทอนซิล)
- มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดลม มะเร็งกล่องเสียง
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งปอด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งไต และท่อไต
- มะเร็งตับ
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
- เป็นต้น
- กระตุ้นให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น
สมอง
ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน
หัวใจ
ทำให้เส้นเลือดที่หัวใจตีบตันได้มากขึ้น ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ถุงลมโป่งพอง
การสูบควันเข้าไปที่ปอด ทำให้ถุงลมเล็กๆ ถูกทำลาย และมารวมตัวกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของถุงลมลดลง
นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำลายปอดแต่ยังส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงและยังทำร้ายคนรอบข้างที่คุณรักอีกด้วย
หากมีปัญหาในการเลิกบุหรี่ สามารถติดต่อสอบถามศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติได้ที่ เบอร์โทร 1600 หรือเว็บไซต์ thailandquitline.or.th
- 10 วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง ง่ายๆ แบบนี้ใครๆ ก็ทำได้
- 5 วิธี “เลิกบุหรี่” ที่ไม่ทำร้ายตัวเอง และได้ผลที่สุด