รู้จัก โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ ชุมพร-ระนอง มูลค่าเท่าไหร่ มีประโยชน์อย่างไร

Home » รู้จัก โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ ชุมพร-ระนอง มูลค่าเท่าไหร่ มีประโยชน์อย่างไร

แลนด์บริดจ์-01-min

มาทำความรู้จัก โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ (ชุมพร-ระนอง) สะพานเชื่อมเศรษฐกิจ การขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน มูลค่าเท่าไหร่ มีประโยชน์อย่างไร

โครงการแลนด์บริดจ์ นับเป็นอีกครั้งโครงการที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นคนเสนอในที่ประชุม ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีการจับมือกับ CHEC เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างในโครงสร้างสาธารณูปโภคใหญ่ที่สุดของจีน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติรับหลักการโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2039

ยินดีที่ CHEC บริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจก่อสร้าง คมนาคม เป็นอันดับ 1 ของเอเชียด้านก่อสร้าง มีการลงทุนจากบริษัทฯ ในไทย เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง จนถึงเฟส 3  บริษัทยืนยันได้รับการสนับสนุนจากไทยด้วยดีมาตลอด BRI จะเป็นกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือเข้าสู่มิติใหม่ 

บริษัทฯ ยินดีที่ไทยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบถ้วนครอบคลุมในประเทศ  เสนอความร่วมมือของบริษัทฯ 
– 1. ทางหลวงและระบบราง เฟส 3 ของแหลมฉบัง ดำเนินไปด้วยดี มีแผนผนวก ท่าเรือ เมือง และนิคมเข้าด้วยกัน
– 2. โครงการ landbridge บริษัทฯ ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการด้วย

แลนด์บริจด์ (LandBridge) 

แปลตรงๆคือ สะพานเชื่อมต่อระหว่างเมืองในต่างประเทศก็มี Land Bridge ชัดสุด เช่น แคนาดา ย่นระยะเวลาขนส่งทางเรือ ระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิก เชื่อมไปสู่ ยุโรป เร็วขึ้น ไม่ต้องไปอ้อมอเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทย จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ จริงๆพูดกันตั้งแต่สมัย รัชกาล ที่ 4 แต่ครั้งนั้นเราเรียกมันว่า โครงการขุดคอคอดกระ ขุดคลอง เพื่อเชื่อมการขนส่งทางเรือ ระหว่างทะเล 2 ฝั่งไทย  จะได้ไม่ต้องไปอ้อม ช่องแคบมะละกา ที่ใช้เวลานาน และ จอแจ แต่ติดเรื่องงบเยอะ  และ ดูเป็นการแบ่งแยกดินแดนไทย จึงมีการชะลอเรื่องนี้ไว้มาช้านาน

จนกระทั่งสมัยรัฐบาลลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ก็ได้มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น LandBridge แทน  

แลนด์บริดจ์1-min
  • บิ๊กต่อ รับเรื่องเเล้ว หลัง รังสิมันต์ โรม แฉ! สว.ทรงเอ เอี่ยว ตร.12 ราย
  • ทุนเลี้ยงชีพ สว. หลังเกษียณ รับเงินเต็มๆ เกือบ 2 ล้านบาท!
  • ‘ธนกร’ หนุน! โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ เมกะโปรเจกต์ ดึงการลงทุนในไทย

แลนด์บริจด์ ประเทศไทย

สะพานเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมต่อระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย และ อันดามัน เข้าด้วยกัน ระหว่าง   จ.ชุมพร และ  จ.ระนอง โดยการสร้างเป็น ทางหลวง Motorway 6 เลนส์ ควบคู่กับการสร้างทางรถไฟทางคู่  ความยาว  90   กม.  พร้อมด้วย pipeline หรือ การขนส่งทางท่อ เพื่อขนของเหลวอย่างน้ำมันหรือก๊าซได้ด้วย

หลักการ

เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่องการเชื่อมสะพานเศษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

เหตุผล

เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (Land Bridge) เป็นการเชื่อมระบบท่อแก๊ส น้ำทะเล น้ำจืด ซึ่งถือเป็นการเชื่อมต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนอง เพื่อยกระดับท่าเรือสินค้า และดำเนินการตามแผนขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC)

​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ หากโครงการแล้วเสร็จประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเกือบ 500,000 ล้านบาท รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงในภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน อีกทั้งในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าวจะต้องมีกฎหมายควบคุมและบังคับใช้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

ข้อดี แลนด์บริดจ์

  • 1. ช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศแถบตะวันออกไทย ไป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรป ได้ถึง 2วันครึ่ง จากเดิมผ่านช่องแคบมะละกา  9 วัน เหลือ 5 วัน
  • 2. ลดความแออัดของจราจร ผ่านช่องแคบมะละกา ที่คาดว่าปี 2467 จะมีปริมาณเรือเต็มศักยภาพจะรับไหว  
  • 3. แผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ คาดช่วยเพิ่ม GDP ภาคใต้ได้ จาก 2% เป็น 10%  

ข้อเสีย แลนด์บริดจ์

  • 1.ผลกระทบทางธรรมชาติ
  • 2.ผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัย
  • 3.กระทบวิถีชีวิตชาวประมงชาวบ้าน
แลนด์บริดจ์2-min

ที่มา : LIRT

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ