[ad_1]

รู้จัก “พระผงสุพรรณ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องเบญจภาคี พิมพ์หน้าแก่ หน้าหนุ่ม คืออะไร?

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ด้านทิศตะวันตก บริเวณศูนย์กลางของเมืองโบราณสุพรรณบุรี ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด จากรูปแบบศิลปกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – 1991)ภายในวัดประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม จำนวน 2 องค์ อุโบสถ วิหารน้อย และซากเจดีย์รายจำนวน 2 องค์

ภายในพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้มีการค้นพบพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี พระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในชุด “พระเบญจภาคี” คือ พระผงสุพรรณ ทำด้วยดินเผา สามารถแบ่งพิมพ์ได้เป็น 3 พิมพ์ ซึ่งนักสะสมพระพิมพ์นิยมเรียกกันตามลักษณ์ของพระพักตร์ว่า “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่” “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง” และ “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม”

พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร-ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา

พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระชั้นกษัตริย์ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็นสามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี พระผงสุพรรณเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเชียงเตี้ยๆ ประดิษฐานภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว สวมเครื่องประดับพระเศียร พระขนงโก่งโค้ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มพระสรวล พระอุระนูน เป็นที่น่าสังเกตว่า ด้านหลังของพระผงสุพรรณทุกองค์ มักปรากฎรอยนิ้วมือแบบมัดหวายอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นวิธีการกดพิมพ์พระ เพื่อเน้นย้ำให้ติดรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น

พระผงสุพรรณเชื่อว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศ ทั้งด้านโภคทรัพย์ แคล้วคลาด มหาอุด และอยู่ยงคงกระพัน เหตุการณ์ที่ทำให้ราคาพระผงสุพรรณดีดตัวขึ้นสูงทันที คือการลอบยิง เสถียร เสถียรสุต เซียนพระและเจ้าของค่ายมวยดัง แต่เขารอดจากคมกระสุนมาอย่างน่าอัศจรรย์

พระผงสุพรรณหน้าแก่รังสรรค์ ต่อสุวรรณ/Rangsan Torsuwan fanpageพระผงสุพรรณหน้าแก่

พิมพ์หน้าแก่ คืออะไร?

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู) องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ 3 ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่าง แห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณหน้าหนุ่มรังสรรค์ ต่อสุวรรณ/Rangsan Torsuwan fanpageพระผงสุพรรณหน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า “..ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะแสดงบอกไว้ให้รู้ว่า ฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือบรมกษัตริย์ พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแด่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกัน ทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดงสถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสาริบุตร คือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม (สุพรรณบุรี) ถ้าผู้ใดพบเห็น ให้รีบเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ”

พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งหมด 4 สี คือ

  1. พระผงสุพรรณ สีดำ จะมีขนาดขององค์พระใหญ่ที่สุดเพราะเผาเนื้อดินสุกไม่เต็มที่
  2. พระผงสุพรรณ สีแดง จะมีขนาดเล็กก่วาสีดำ
  3. พระผงสุพรรณ สีเหลือง จะมีขนาดเล็กก่วาสีแดงเล็กน้อย
  4. พระผงสุพรรณ สีเขียว จะมีขนาดเล็กลงอีกเล็กน้อย เพราะเผาได้แกร่งที่สุด เนื้อดินจะหดตัวมากที่สุด

  รู้จัก สุดยอดพระเครื่อง “เบญจภาคี” เหตุผลที่ต้องเป็น 5 องค์นี้ ใครกำหนด?

 

[ad_2]