รู้จัก ‘นั่งกระโหย่ง’ ท่าไหว้พระสมัยโบราณ แบบผู้ว่าฯชัชชาติ

Home » รู้จัก ‘นั่งกระโหย่ง’ ท่าไหว้พระสมัยโบราณ แบบผู้ว่าฯชัชชาติ


รู้จัก ‘นั่งกระโหย่ง’ ท่าไหว้พระสมัยโบราณ แบบผู้ว่าฯชัชชาติ

ชวนรู้จัก ท่านั่งกระโหย่ง ท่าไหว้พระสมัยโบราณ ตั้งแต่พุทธกาล ปรากฏอยู่ในทั้งภาพจิตรกรรมและพระไตรปิฎก ไม่ใช่ท่าไม่สุภาพแบบที่ร่ำลือ

จากกรณีการทำบุญวันเกิดของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ มีหลายฝ่ายติติงถึงความไม่เหมาะสม แต่จริง ๆ แล้วท่านั่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปไกลถึงสมัยพุทธกาล เรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งกระโหย่ง” ในประเทศไทยสมัยก่อนใช้มานานแล้วเป็นเรื่องปกติและสุภาพ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน

โดยเพจ โบราณนานมา ได้ให้ความรู้ว่า ท่านั่งสำหรับทำวินัยกรรมของพระภิกษุสงฆ์ในกรณีที่ใช้กราบเรียนและแสดงความเคารพอย่างสูงเรียกขานในภาษาบาลีว่า อุกฺกุฏิก (ukkuṭika) และนิยมแปลไทยว่า “นั่งกระโหย่ง” เป็นรูปแบบมาตรฐานในการขอพระอุปัชฌาย์ การขอบรรพชา อุปสมบท และปลงอาบัติ

อาจเป็นรูปภาพของ 10 คน

ในทางพม่าและกัมพูชา เป็นที่เข้าใจกันว่า อุกฺกุฏิก = ท่านั่งยอง (squatting) โดยฝ่าเท้าราบเต็มบนพื้น สนเท้าชิดก้น เข่าค้ำหน้าอก หลังโก่งงอ แต่ในประเทศไทยปัจจุบันไม่นิยมใช้ท่านี้ แต่มีหลักฐานเก่าแก่ในประเทศไทย เช่น ภาพจิตรกรรม ปรากฏท่านั่งยองในวินัยกรรม และบางพื้นที่ก็ยังมีการใช้ท่านี้อยู่

และเป็นการดี หากเรารู้ธรรมเนียมการ “นั่งกระโหย่ง” ตามพระบาลีแสดงไว้ เพื่อสืบทอดต่อไป ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เพราะคำว่า อุกฺกุฏิกํ นิสีทิตฺวา ปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่มาก

ที่มา: โบราณนานมา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ