รายงาน กลาโหมสหรัฐ ชี้จีนอาจมี "หัวรบนิวเคลียร์" 1,500 ลูก ภายในปี 2578

Home » รายงาน กลาโหมสหรัฐ ชี้จีนอาจมี "หัวรบนิวเคลียร์" 1,500 ลูก ภายในปี 2578



รายงาน กลาโหมสหรัฐ ชี้จีนอาจมี “หัวรบนิวเคลียร์” 1,500 ลูก ภายในปี 2578

วันที่ 30 พ.ย. ซีเอ็นเอ็น นำเสนอการเปิดเผยรายงานของกระทรวง กลาโหมสหรัฐ (เพนตากอน) ว่า คลังหัวรบนิวเคลียร์ของจีนมีจำนวนเกิน 400 ลูก ในช่วงเวลาเศษเสี้ยวที่สหรัฐประเมินก่อนหน้านี้ โดยจีนมุ่งไปที่การเร่งการขยายด้านนิวเคลียร์ของจีน ขณะพยายามท้าทายสหรัฐในฐานะมหาอำนาจสูงสุดของโลก

 

รายงาน “อำนาจทางทหารจีนปี 2565” (2022 China Military Power) ของเพนตากอน เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ 29 พ.ย. ว่า เมื่อปี 2563 สหรัฐประเมินว่า จีนมีจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ต่ำกว่า 200 ลูก และคาดว่าคลังหัวรบนิวเคลียร์จะเพิ่มเป็น 2 เท่า ภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่เพียง 2 ปีหลังจากนั้น จีนบรรลุเป้าหมายดังกล่าวและอาจมีหัวรบนิวเคลียร์ราว 1,500 ลูก ภายในปี 2578 หากยังขยายคลังหัวรบนิวเคลียร์ในระดับปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงกล่าวในการบรรยายสรุปเกี่ยวกับรายงานฉบับล่าสุดของเพนตากอนว่า “สิ่งที่เราเห็นจริงๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือการเร่งการขยายตัว “เราเห็นว่าชุดของขีดความสามารถกำลังเป็นรูปเป็นร่างและจำนวนเพิ่มขึ้นในแง่ของสิ่งที่จีนกำลังมองหาการติดตาที่ก่อให้เกิดคำถามบางอย่างเกี่ยวกับความตั้งใจของจีนในระยะยาว”

รายงานฉบับล่าสุดของเพนตากอนว่า จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกกำลังใช้การทหารที่ขยายตัวของจีนเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะสร้างระบบระหว่างประเทศที่เอื้อต่อโลกทัศน์ของจีน ซึ่งทำให้เกิดความท้าทายเชิงที่ตามมาและเป็นระบบที่สุดต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ และขีดความสามารถทางนิวเคลียร์ที่ใหญ่ขึ้นห่างไกลจากสิ่งที่จีนเคยเรียกว่า “เครื่องยับยั้งนิวเคลียร์ที่กระชับและมีประสิทธิภาพ และการลงทุนของจีนในอาวุธนิวเคลียร์ 3 ทาง ได้แก่ การปล่อยนิวเคลียร์ทางทะเล ทางบก และทางอากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้สหรัฐกังวล

 

รายงานดังกล่าวว่า จีนยังดำเนินการทดสอบขีปนาวุธทิ้งตัว 135 ครั้งในปี 2564 จำนวนดังกล่าวมากกว่าทั้งโลกรวมกัน ซึ่งไม่ได้รวมขีปนาวุธทิ้งตัวที่มีการใช้ในสงครามยูเครน

เจ้าหน้าที่ยังให้รายละเอียดใหม่เกี่ยวกับการทดสอบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (ไฮเปอร์โซนิก) เมื่อเดือนก.ค. 2564 ที่ยิงทั่วโลกก่อนโจมตีเป้าหมายของจีน ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ดึงดูดความสนใจไปที่การพัฒนาอาวุธความเร็วเหนือเสียงที่ล้าหลังของสหรัฐ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ระบบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงของจีนเดินทาง 40,000 กิโลเมตร และเผยให้เห็นการเดินทางที่ไกลที่สุดของอาวุธโจมตีทางบกของจีนจนถึงปัจจุบัน

การทหารจีน ซึ่งรู้จักอย่างเป็นทางการกองทัพปลดปล่อยประชาชน ยังกำลังพัฒนาอาวุธอวกาศและอาวุธต่อต้านอวกาศเช่นกัน โดยมองว่าเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นวิธีการยับยั้งการแทรกแซงจากภายนอกในความขัดแย้งทางทหารในภูมิภาค

รายงานของเพตากอนว่า จีนมีกองทัพประจำการเกือบ 1 ล้านนาย เป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเทียบตามจำนวนเรือ และกองทัพอากาศที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลก ก่อนหน้านี้ รายงานยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ 2565 (2022 National Defense Strategy) ของสหรัฐที่เผยแพร่เมื่อเดือนที่แล้ว ระบุว่าจีนเป็นความท้าทายของสหรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำระดับสูงของเพนตากอนย้ำเสมอ

พล.อ.มาร์ค มิลลีย์ ประธานหัวหน้าคณะเสนาธิการร่วม กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า “จีนเป็นประเทศเดียวที่มีศักยภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อสหรัฐ เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากร เทคโนโลยี เศรษฐกิจ นาโนเทคโนโลยี และสิ่งอื่นๆ จำนวนมาก จีนคือความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับสหรัฐ”

 

 

ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐมักเกี่ยวข้องกับไต้หวัน ซึ่งประชาธิปไตยและปกครองตนเอง จีนมองว่าไต้หวันเป็นส่วนสำคัญของดินแดนอธิปไตยของจีน รวมถึงทะเลจีนใต้ และเจ้าหน้าที่กลาโหมสหรัฐเคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า จีนตั้งใจที่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะไต้หวันภายในปี 2570

ส่วนในรายงานของเพนตากอน ซึ่งระบุชื่อเรื่องอย่างเป็นทางการว่า “การพัฒนาทางทหารและความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีน” นั้น สหรัฐจะไม่คาดคิดว่าจีนจะรุกรานไต้หวัน โดยมองว่า จีนจะเพิ่มแรงกดดันทางการทูต เศรษฐกิจ การเมือง และการทหารต่อไต้หวันแทน

การเยือนไต้หวันครั้งประวัติศาสตร์ของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เมื่อเดือนส.ค. เป็นเวทีใหม่ในความพยายามของจีน เนื่องจากจีนใช้การเยือนดังกล่าวพยายามสร้างความปกติใหม่ทั่วไต้หวัน โดยเจ้าหน้าที่กลาโหมกล่าวว่า ตั้งแต่นั้นมา จีนข้ามเส้นแบ่งช่องแคบไต้หวันถี่ขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้ มีกิจกรรมทางทะเลมากขึ้นรอบไต้หวัน และเครื่องบินรบของจีนจำนวนมากบินเข้ามาในเขตป้องกันภัยทางอากาศที่ไต้หวันประกาศ

“แม้ว่าเราจะไม่เห็นการรุกรานใกล้เข้ามา แต่เป็นกิจกรรมข่มขู่และบีบคั้นในระดับที่สูงขึ้นทั่วไต้หวัน” เจ้าหน้าที่กล่าว

 

รายงานของเพนตากอนยังพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและจีน ทั้งสองประเทศออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ส่งสัญญาณถึงความปรารถนาที่จะเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง จีนและรัสเซียมี “ผลประโยชน์เสริม” ในแง่ของความมั่นคงของชาติและแนวทางร่วมกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่การรุกรานยูเครนของรัสเซียเพียงไม่กี่สัปดาห์ต่อมาได้ทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความซับซ้อนในรูปแบบที่อาจยังไม่ชัดเจนทั้งหมด

“แน่นอนว่านี่จะเป็นพื้นที่ที่เราและผู้สังเกตการณ์คนอื่นๆ ในยุโรปและที่อื่น ๆ ให้ความสนใจอย่างมาก เราเห็นว่าจีนสนับสนุนรัสเซียทางการทูตอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการโฆษณาชวนเชื่อและข้อมูลเท็จจำนวนมากของพวกเขา และนั่นคือประเด็นที่น่ากังวลเป็นพิเศษ” เจ้าหน้าที่กลาโหมกล่าว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ