ราชกิจจาฯ เผยแพร่มาตรการคุมโควิด กทม.-ปริมณฑล "ปิดแคมป์คนงาน 30 วัน-ห้ามนั่งกินในร้าน"

Home » ราชกิจจาฯ เผยแพร่มาตรการคุมโควิด กทม.-ปริมณฑล "ปิดแคมป์คนงาน 30 วัน-ห้ามนั่งกินในร้าน"
ราชกิจจาฯ เผยแพร่มาตรการคุมโควิด กทม.-ปริมณฑล "ปิดแคมป์คนงาน 30 วัน-ห้ามนั่งกินในร้าน"

วันนี้ (26 มิ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ซึ่งลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ มีสาระสำคัญคือ การปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) โดยมีข้อกำหนดและข้อปฏิบัติทั้งสิ้น 10 ข้อ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. มาตรการเร่งด่วนเพื่อสกัดกั้นการระบาดในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ – หมายถึงในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา)

2. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล – ปิดแคมป์ก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน

3. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการและโรงงานเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล – ดำเนินมาตรการควบคุมโรคในลักษณะ Bubble and Seal

4. มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล

4.1 การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น (Take Home)

4.2 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยให้งดการให้บริการเพิ่มเติมในพื้นที่โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ พื้นที่นั่งรับประทานในศูนย์อาหาร และเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพื้นที่พักคอย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนอากาศ

4.3 โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ โดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยง 

4.4 กิจกรรมการรวมกลุ่ม ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

5. มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเขตชุมชน

6. การให้ความช่วยเหลือประชาชน

7. กำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทาง

8. การปราบปรามผู้กระทำผิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่โรค

9. มาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง

10. การงดจัดกิจกรรมทางสังคม

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

  • อ่านข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 25) ฉบับเต็ม

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษา ยังมีการเผยแพร่คำสั่ง ศบค. ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีทั้งสิ้น 10 จังหวัด ดังนี้

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสาคร
  7. นราธิวาส
  8. ปัตตานี
  9. ยะลา
  10. สงขลา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ