รัฐอะแลสกา ร้อนทุบสถิติ สัญญาณเตือน “ไอซ์มาเกดดอน” วันสิ้นน้ำแข็ง

Home » รัฐอะแลสกา ร้อนทุบสถิติ สัญญาณเตือน “ไอซ์มาเกดดอน” วันสิ้นน้ำแข็ง


รัฐอะแลสกา ร้อนทุบสถิติ สัญญาณเตือน “ไอซ์มาเกดดอน” วันสิ้นน้ำแข็ง

รัฐอะแลสกา – วันที่ 30 ธ.ค. บีบีซี รายงานว่า อะแลสกา รัฐที่มีอากาศหนาวที่สุดของสหรัฐ มีวันร้อนที่สุดที่เคยมีมาในเดือนธันวาคม ท่ามกลางอากาศอบอุ่นผิดปกติในฤดูหนาว

อุณหภูมิทุบสถิติเพิ่มเป็น 19.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธ.ค. บนเกาะโกดิอัก ทำให้อุณหภูมิอุ่น 7 องศา สูงกว่าระดับอุณหภูมิสูงก่อนหน้านี้ของอะแลสกา

อย่างไรก็ตาม ที่อื่นๆ ในอะแลสกา อุณหภูมิกลับลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ เช่น เมืองเคตชิกัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ อุณหภูมิลดลงถึง -18 องศาเซลเซียส เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ธ.ค. เป็นหนึ่งในวันคริสต์มาสที่หนาวที่สุดของเมืองในรอบศตวรรษ (100 ปี) ที่ผ่านมา

AFP

สภาพอากาศสุดขั้วทำให้ทางการอะแลสกาส่งสัญญาณเตือนถึง Icemageddon (ไอซ์มากาเกดดอน) วันสิ้นน้ำแข็ง เป็นคำล้อมาจาก Armageddon (อาร์มาเกดดอน) วันสิ้นโลก เนื่องจากฝนตกหนักและหิมะทำให้น้ำแข็งแข็งพอกับซีเมนต์ลาดถนน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ลมอุ่นที่พัดมาจากเกาะฮาวายทำให้อากาศของอลาสก้า ซึ่งปกติจะเย็นและแห้งในช่วงเดือนธันวาคม มีความชื้นมากขึ้น หมายความว่ามีแนวโน้มว่าจะมีฝนตกหนักและพายุหิมะในพื้นที่ภายใน ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ปลอดโปร่ง

หิมะตกหนักตามมาด้วยฝนตกหนักที่ปกคลุมพื้นที่ด้วยน้ำแข็ง ขณะที่ฝนหยุดนิ่งอย่างฉับพลัน ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าขัดข้องเป็นบริเวณกว้าง ถนนปิดการสัญจร และสำนักงานต่างๆ ต้องปิดชั่วคราว

 

กรมการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะของอะแลสการะบุทางทวิตเตอร์ว่า และน้ำแข็งหนาก่อตัวขึ้นบนถนนและเป็นผลเสียต่อคนใช้รถใช้ถนน

“น้ำแข็งกำจัดออกได้ยากอย่างยิ่งเมื่อเกาะติดกับผิวถนนแล้ว แม้ว่าอุณหภูมิของอากาศจะอบอุ่น… ถนนยังอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ ทำให้น้ำแข็งเกาะติดกับพื้นผิว”

นายริก โทมาน นักวิทยาศาสตร์สภาพอากาศจากศูนย์การประเมินและนโยบายสภาพภูมิอากาศของอะแลสกา บอกกับบีบีซีว่า น้ำแข็งน่าจะเกาะติดกับถนนจนถึงอย่างน้อยในเดือนมี.ค. หรือเม.ย. โดยอธิบายว่า พายุกลางฤดูหนาวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2480 พัดถล่มใจกลางเมืองแฟร์แบงก์สในช่วงคริสต์มาส และหิมะตกมากกว่า (25.4 ซม.)

นายโทมานอธิบายว่า หิมะตกลงมามากในวันอาทิตย์ที่ 19 ธ.ค. ที่ทำให้หลังคาร้านขายของเพียงแห่งเดียวในเมืองเดลตาจังก์ชัน ห่างจากเมืองแฟร์แบงก์ส ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ (153 กม.) ยุบตัว และว่าอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

“เมื่อชิ้นส่วนทั้งหมดมารวมกันในโลกที่อบอุ่น เราจะรับรู้เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นคือสิ่งที่เราคาดหวัง” เขากล่าว และคาดการณ์ว่า ตอนที่อบอุ่นและเปียกชื้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในอนาคต นาย Thoman

“ปี 2021 ดูเหมือนจะเป็นปีที่เฝนตกหนักรุนแรงเกิดขึ้นจริงๆ” โมทานกล่าวกับบีบีซี

ทั้งนี้ อุณหภูมิในเมืองแฟร์แบงก์สคาดว่าจะลดลงต่ำกว่า -29 องศาเซลเซียสในสุดสัปดาห์นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง: ธารน้ำแข็งไอซ์แลนด์หดตัว ผลพวงจากภูมิอากาศ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ