ระวัง! ฝรั่งเศสออกกฎหมายใหม่ โพสต์รูปลูกลงโซเชียล = ผิด เตือนละเมิดสิทธิ?

Home » ระวัง! ฝรั่งเศสออกกฎหมายใหม่ โพสต์รูปลูกลงโซเชียล = ผิด เตือนละเมิดสิทธิ?


ระวัง! ฝรั่งเศสออกกฎหมายใหม่ โพสต์รูปลูกลงโซเชียล = ผิด เตือนละเมิดสิทธิ?

พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ส.ส. ฝรั่งเศส เพิ่งโหวตให้ผ่านร่างกฎหมายใหม่ สิทธิเด็กในภาพถ่าย ไม่สามารถโพสต์รูปเด็กลงโซเชียลได้


ไม่ว่าจะถ่ายรูป เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ ต้องการแบ่งปันช่วงเวลาการเติบโตของลูกให้สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนๆ ได้เห็น หรือเพื่อขอคำแนะนำจากพ่อแม่คนอื่นๆ สำหรับพ่อแม่บางคนโดยเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์ รูปของลูกๆ อาจเป็นแหล่งรายได้อีกทางหนึ่ง

จนบางครั้งอาจจะหลงลืม ว่าข้อมูลส่วนตัวของลูกมีอยู่ในโลกออนไลน์มากเกินไป และไม่คำนึงถึงความยินยอมและความปลอดภัยของลูก

ล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ออกเสียงเป็นเอกฉันท์ให้ผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็กโดยพ่อแม่อาจถูกแบนไม่ให้แชร์รูปลูกลงโซเชียลฯ

กฎหมายดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อมอบอำนาจในการดูแลให้พ่อแม่และผู้ปกครอง ในขณะเดียวกันก็แสดงให้คนรุ่นเยาว์เห็นว่า พ่อแม่ไม่ได้มีสิทธิขาดในการนำรูปภาพของเด็ก ๆ ไปใช้

มีเป้าหมายหลักในการปกป้องเด็ก ๆ เพื่อไม่ให้พ่อแม่เปิดเผยความเป็นส่วนตัวของลูก ๆ สู่โลกอินเทอร์เน็ตมากเกินไป และไม่มีข้อจำกัด

โดยผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในสิทธิในภาพของลูกๆ และการตัดสินใจใดๆ ในการโพสต์ภาพเหล่านี้ทางออนไลน์เด็กจะต้องให้ความยินยอมด้วยตาม ‘อายุและวุฒิภาวะ’

 

หากพ่อและแม่เห็นไม่ตรงกันศาลอาจสั่งห้ามคนใดคนหนึ่งโพสต์รูปลูกได้ หรืออาจสูญเสียอำนาจเหนือสิทธิในภาพของลูก ซึ่งหากการโพสต์ดังกล่าว “ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อศักดิ์ศรีของเด็ก” หรือในกรณีร้ายแรงพ่อแม่อาจเสียสิทธิในการจัดการรูปของลูกไปเลย

นอกจากนี้้ ส.ส.บรูโน สตูเดอร์ (Bruno Studer) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เลอมงด์ (Le Monde) ของฝรั่งเศสว่า เด็กอายุ 13 ปี 1 คน จะมีภาพของตัวเองอยู่ในอินเทอร์เน็ตประมาณ 1,300 รูป ซึ่งรูปเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้เป็นสื่อลามก หรือใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และท้ายที่สุด อาจทำให้เด็กถูกบูลลี่ที่โรงเรียนได้

ยังมีสถิติชี้อีกว่า รูปภาพถึง 50% ที่ใช้ในสื่อลามกอนาจารเด็ก (Child Pornography) ล้วนเอามาจากภาพที่พ่อแม่ของเด็กโพสต์ลงในโซเชียลเอง

อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาฝรั่งเศส และให้ประธานาธิบดีลงนาม เพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป


ที่มา : ladbible

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ