รมว.เฮ้ง ส่งโฆษกเยือน 'กลุ่มโหนดศิลป์'สงขลา ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สร้างรายได้

Home » รมว.เฮ้ง ส่งโฆษกเยือน 'กลุ่มโหนดศิลป์'สงขลา ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สร้างรายได้


รมว.เฮ้ง ส่งโฆษกเยือน 'กลุ่มโหนดศิลป์'สงขลา ส่งเสริมอาชีพคนพิการ สร้างรายได้

รมว.เฮ้ง ส่ง โฆษกแรงงาน เยือน ‘กลุ่มโหนดศิลป์’ จ.สงขลา ส่งเสริมอาชีพคนพิการหลังฟื้นฟู สู่การสร้างรายได้ที่มั่นคง ไม่เป็นภาระสังคม

วันที่ 22 พ.ย. 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพบปะให้กำลังใจกลุ่มหัตถกรรมนกยูงจากใบตาล หรือ กลุ่มโหนดศิลป์ จ.สงขลา โดยมีนายอินทัช หงษ์ทอง ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มให้การต้อนรับ ที่กลุ่มหัตถกรามนกยูงจากใบตาง อ.ระโนด จ.สงขลา

นางเธียรรัตน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนคนพิการกว่า 3 แสนคนที่ไม่มีงานทำ แต่มีความพร้อม มีศักยภาพในการทำงาน เพียงแค่ยังขาดโอกาสในการแสดงออกถึงศักยภาพที่มี ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ประกอบการ มีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานให้คนพิการมากขึ้น

กระทรวงแรงงานเล็งเห็นความสำคัญด้านความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคมให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งคนพิการเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เช่นเดียวกับคนพิการในพื้นที่ต.บ่อตรุ อ.ระโนด ที่ได้รับการฟื้นฟูร่างกายและได้รับการฝึกอบรมด้านการประกอบอาชีพ สาขางานประดิษฐ์ การทำผลิตภัณฑ์นกยูงจากใบตาล

โดยศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 5 สงขลา สังกัดสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หลังจากนั้นได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ชื่อว่า “หัตถกรรมนกยูงจากใบตาล: โหนดศิลป์” เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เช่น ของที่ระลึกจากใบตาล พวงกุญแจจากใบตาล กรอบรูป ภาพวาดด้วยสีน้ำ ภาชนะจากใบตาล กล่องทิชชู่ เป็นต้น และยังคงพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 10 คน สามารถสร้างรายได้เดือนละ 3,000 – 5,000 บาทต่อคน

รมว.เฮ้ง ส่ง โฆษกแรงงาน เยือน 'กลุ่มโหนดศิลป์' จ.สงขลา

รมว.เฮ้ง ส่ง โฆษกแรงงาน เยือน ‘กลุ่มโหนดศิลป์’ จ.สงขลา

นางเธียรรัตน์ กล่าวว่า กลุ่มโหนดศิลป์ยังได้รับการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา และสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา จนทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีคุณภาพ และได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างอีกจำนวนมาก และได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณตามการจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการจัดหางาน และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทำให้กลุ่มโหนดศิลป์เป็นต้นแบบของการพัฒนาและการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาธุรกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการ สามารถดึงดูดลูกค้าที่มาเยี่ยมชมและซื้อสินค้า และยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับคนพิการ

การที่คนพิการสามารถประกอบอาชีพได้หมายถึงการมีศักดิ์ศรี มีพื้นที่ยืนทั้งในครอบครัวและสังคม เกิดความสุขในชีวิต เพราะมีรายได้เลี้ยงตัวเอง ไม่เป็นภาระของคนอื่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมที่ดี มีเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนพูดคุย แบ่งเบาความทุกข์ ปันความสุข อาชีพสำหรับคนพิการจึงเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต” นางเธียรรัตน์ กล่าว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ