มาตามนัด! ฤดูฝน 2567 โปรดระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพายุหมุนเขตร้อน

Home » มาตามนัด! ฤดูฝน 2567 โปรดระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพายุหมุนเขตร้อน
ฤดูฝน สภาพอากาศ 2567-min (1)

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ ฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. จนถึงกลางเดือนตุลาคม 2657 และสิ่งที่ประชาชนควรระวังอันตรายที่มากับฤดูฝนมีอะไรบ้าง เช็กเลย!

วันนี้ 21 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ ฤดูฝน แล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เนื่องจากบริเวณประเทศไทยตอนบน สภาพอากาศมีฝนตกชกหนาแน่นครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 และต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป 

ประกอบกับลมชั้นบนที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดนำความชื่นจากะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้

สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีผนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม

จึงขอประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Screenshot-210-min
  • หน้าฝนแมลงเยอะ! 9 วิธีใช้สเปรย์กำจัดยุงและแมลงอย่างถูกต้อง 
  • 5 แมลง-สัตว์มีพิษ ที่มาตอนหน้าฝนต้องระวัง! โดนกัดมีอันตราย
  • 3 โรคกลิ่นอับชื้น ที่ต้องระวังในหน้าฝน

คาดหมาย ฤดูฝน ของประเทศไทย ปี 2567

ปริมาณฝนรวมในช่วงฤดูฝนของทั้งประเทศปีนี้จะใกล้เคียงค่าปกติ และใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ฤดูฝเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม จนถึงช่วงกลางเดือนตุลาคม 2567 คาดว่าปีนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จำนวน 1 – 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน

  • ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนมิถุนายน จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง ฝนตก 40 – 60 % ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตก 60 – 80 % ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาบางแห่ง
  • ช่วงกลางเดือนมิถุนายน – กลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนลดลง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในบางแห่งโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน
  • ช่วงสิงหาคม – กันยายน ฝนตกชุกหนาแน่น ฝนตก 60 – 80 % ของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่นได้ในบางพื้นที่
  • ตุลาคม บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนลดลงและเริ่มมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของภาค บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง
ฤดูฝน-2567-min-1

อันตรายที่มากับฤดูฝน

  • โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออก ที่มีพาหะมาจากยุงลาย หน้าฝนเป็นหน้าที่มีน้ำขัง หรือเกิดแหล่งน้ำมากขึ้นจึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุที่ดีของยุงเลยก็ว่าได้ ดังนั้นยุงมากจึงมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้นนั่นเอง
  • แมลงและสัตว์มีพิษ เช่น งู ,ตะขาบ , แมงป่อง , กิ้งกือ , แมลงก้นกระดก เป็นต้น
  • โรคผิวหนัง เช่น โรคฉี่หนู , โรคน้ำกัดเท้า , โรคกลาด , โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ , ผิวหนังอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย , เท้ามีกลิ่นเหม็น หรือแม้กระทั้งสิวเห่อ เพราะในบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง อย่างที่รู้กันว่าช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย
  • ความอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า การโดนไฟช็อตหรือไฟดูดเกิดได้บ่อยช่วงหน้าฝน เครื่องใช้ไฟฟ้าถือว่าเป็นภัยต่อชีวิตที่พบได้บ่อย ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง และ ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือปลั๊กไฟในขณะที่ตัวเปียก

นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้รถใช้ถนน หากมีความจำเป็นจะต้องขับรถลุยน้ำท่วม ควรทำตามวิธีดังต่อไปนี้

เช็กให้ชัวร์! รถดับกลางน้ำท่วมทำยังไงดี? พร้อมเทคนิคขับรถลุยน้ำไม่ให้เครื่องพัง

ช่วงนี้ฝนตกทุกวันแถมไม่ใช่ฝนธรรมดาแต่เป็นพายุ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เช็กลิสต์! ได้เวลา เปิดตู้ยาที่ควรมีติดบ้านไว้ ในช่วง หน้าฝน มีอะไรบ้างมาดูเลย

ยาสำหรับกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

ยาลดไข้ บรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล  

  • พาราเซตามอลเป็นยาที่มีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาปวดที่มีความปลอดภัย แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วันเพราะอาจนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ โดยก่อนรับประทานควรอ่านฉลากอย่างละเอียด ผู้ที่เป็นโรคตับ ไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา 

ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก 

  • บรรเทาอาการน้ำมูกไหล และ จาม จากไข้หวัดและจากการแพ้อากาศ ยากลุ่มนี้บางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ง่วง จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน และไม่ควรขับยานพาหนะขณะได้รับยานี้เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ 

ยาสำหรับกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร

ผงเกลือแร่ (ORS)

  • ใช้ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากอาการท้องเสีย หรือ อาเจียน รับประทานโดยผสมผงเกลือแร่กับน้ำสะอาดตามคำแนะนำข้างซอง โดยค่อย ๆ จิบน้ำเกลือแร่ ไม่ดื่มจนหมดในคราวเดียว เพราะอาจทำให้ลำไส้แปรปรวนและท้องเสียมากขึ้น  ทั้งนี้ผงเกลือแร่ที่ผสมน้ำแล้วควรใช้ภายใน 24 ชั่วโมง เก็บรักษาในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อน

ยาถ่านคาร์บอน 

  • ใช้ดูดซับสารพิษเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย แต่ยาตัวนี้ไม่ได้มีผลฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และไม่สามารถใช้เป็นยาหยุดถ่าย ในการรับประทานยาถ่านคาร์บอนต้องเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมงจากการรับประทานยาชนิดอื่น เนื่องจากยานี้อาจไปดูดซับ และส่งผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยาอื่นได้

ยาสำหรับเมื่อโดนแมลงสัตว์กัดต่อย

คาลาไมน์โลชัน

  • บรรเทาอาการคันจากผื่นคัน ผื่นแพ้จากแมลงกัดต่อย เป็นรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ดังนั้นก่อนใช้เขย่าให้ตัวยาเข้ากันดีก่อน โดยใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ใกล้ดวงตา หรือเยื่อเมือกอื่น ๆ

ยาหม่อง

  • บรรเทาอาการปวดบวมจากแมลงกัดต่อย ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม 

ยาแก้แพ้

  • บรรเทาอาการคันจากแมลงกัดต่อยยากลุ่มนี้บางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ง่วง จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน และไม่ควรขับยานพาหนะขณะได้รับยานี้เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ 

ยาแก้ปวด

  • พาราเซตามอลเป็นยาที่มีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาปวดที่มีความปลอดภัย แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วันเพราะอาจนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ โดยก่อนรับประทานควรอ่านฉลากอย่างละเอียด ผู้ที่เป็นโรคตับ ไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ทั้งนี้ ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และควรใช้ยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยหากอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา , สสส

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ