เช็งเม้ง หรือ เชงเม็ง เป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน เพื่อบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมักจะทำพิธีเซ่นไหว้และปัดกวาดหลุมศพบรรพบุรุษ ซึ่ง เช็งเม้ง 2566 คำว่า “เช็งเม้ง”, “เชงเม้ง” (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ “เฉ่งเบ๋ง” (ในสำเนียงภาษาฮกเกี้ยน) “เช็ง” หรือ “เฉ่ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หรือ “เบ๋ง” หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ ซึ่ง เชงเม้ง 2566 ปีนี้ตรงกับวันไหนบ้างมาดูเลย!
- วันของจุ๊บเหม่ง! 23 มีนาคม “วันลูกสุนัขแห่งชาติ” เหล่าทาสต้องให้รางวัล
- เปิดสเปค BYD Dolphin รถยนต์ไฟฟ้า100% เตรียมตัววางจำหน่ายในไทย
- เปิดที่เที่ยวใหม่! ตลาดโอ๊ะป่อย ราชบุรี ตลาดชุมชนน่ารัก ตลาดเช้าริมธาร
สำหรับวันเช็งเม้งในประเทศจีนนั้น จะเริ่มต้นช่วงวันที่ 4 – 5 เมษายน ไปจนถึงวันที่ 19 – 20 เมษายน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ที่อากาศจะเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอยๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง และด้วยบรรยายกาศดังกล่าวนี่เองที่เป็นที่มาของชื่อ “เช็งเม้ง”
ไหว้วันไหน?
สำหรับ ปีนี้ในไทยจะตรงกับวันที่ 5 เมษายน 2566 ตามปฏิทินจีน โดยช่วงเวลาในเทศกาลเช็งเม้งจะมี 7 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 – 8 เมษายน รวม 7 วัน
แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจร สุสานต่างๆ จึงขยายช่วงเวลาของเทศกาลเช็งเม้งให้ยาวขึ้นอีก 3 สัปดาห์ คือ ประมาณ 15 มีนาคม ถึง 8 เมษายน แต่ในภาคใต้บางพื้นที่จะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
ในวันเช็งเม้งนี้ ลูกหลานจะมาร่วมกันเซ่นไหว้ เคารพสักการะบรรพบุรุษที่หลุมฝังศพ (ฮวงซุ้ย) การนำของมาเซ่นไหว้ให้กับบรรพบุรุษซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของเครือญาติอีกด้วย เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว บางครอบครัวอาจจะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อเพื่อแสดงความสมานสามัคคีแก่บรรพบุรุษ
ประโยชน์ของการไหว้บรรพบุรุษวันเช็งเม้ง
- เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา ลำบากเพื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต “เราสบายเพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก”
- เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน (วันและเวลาเดียวกัน) ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น “วันรวมญาติ”
- เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน “พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน” เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม
- เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน
วันเช็งเม้ง VS วันสารทจีน
เมื่อพูดถึงวันไหว้บรรพบุรุษ หลายคนอาจนึกถึง “วันเช็งเม้ง” หรือ “วันสารทจีน” ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ที่จริงแล้วมีข้อแตกต่าง ดังนี้
“วันเช็งเม้ง” เป็นพิธีกรรมที่ลูกหลานจะไปแสดงความเคารพและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุษ ด้วยการไปไหว้สุสานของบรรพบุรุษเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูร้อน โดยลูกหลานมักจะจัดของไหว้ อาหารคาว ซาลาเปา เป็ด หรือไก่ รวมถึงการทำความสะอาด ตกแต่งฮวงซุ้ย เพื่อให้บรรพบุรุษของเราที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับของกินของใช้เพื่อไปใช้ในโลกอื่นนั่นเอง
ขณะที่ “วันสารทจีน” จะเป็นการไหว้บรรพบุรุษ เนื่องจากเป็นช่วงที่ประตูนรกเปิด ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ช่วงกลางปี) ซึ่งจะเป็นการจัดโต๊ะไหว้ที่บ้าน 3 ช่วงเวลา คือ ไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษ และสัมภเวสี/ผีเร่ร่อนไร้ญาติ
แหล่ที่มา Publicholidays.cn, วิกิพีเดีย และ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY