มะลาละห์ ยูซัฟซัย คือใคร ? บุคคลที่ แอนโทเนีย โพซิ้ว เลือกที่อยากเป็น

Home » มะลาละห์ ยูซัฟซัย คือใคร ? บุคคลที่ แอนโทเนีย โพซิ้ว เลือกที่อยากเป็น

มะลาละห์-ยูซัฟซัย

มะลาละห์ ยูซัฟซัย คือใคร ? มีบทบาทอะไรในสังคม หลัง “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ตอบคำถาม เลือกบุคคลที่อยากจะเป็น ในรอบ 3 คนสุดท้าย

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่กองประกวด Miss Universe 2023 แอนโทเนีย โพซิ้ว ทำให้ประเทศไทยมีลุ้นเข้าไปเรื่อยๆ ในการคว้ามงกุฎที่ 3 หลังเธอนั้นเข้ารอบ 3 คนสุดท้าย โดยในช่วงตอบคำถาม เธอได้ระบุถึงบุคคลรายหนึ่งที่เธอนั้นอยากจะเป็น โดยบุคคลที่เธอเลือกอยากจะเป็นนั้น คือ มะลาละห์ ยูซัฟซัย เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรี และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน

มะลาละห์ ยูซัฟซัย (1)

ทำความรู้จัก มะลาละห์ ยูซัฟซัย

มะลาละห์ ยูซัฟซัย เกิด 12 กรกฎาคม 2540 เป็นเด็กนักเรียนจากเมืองมินโกราในเขตสวาท (Swat District) แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักในการศึกษาและการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีของเธอในหุบเขาสวัด ซึ่งตอลิบานบางครั้งห้ามเด็กหญิงมิให้เข้าศึกษาในโรงเรียน ต้นปี 2552 ขณะอายุได้ 11 ปี ยูซาฟไซกลายมาเป็นที่รู้จักผ่านบล็อกที่เธอเขียนให้แก่บีบีซีโดยรายละเอียดกล่าวถึงชีวิตของเธอภายใต้ระบอบฏอลิบาน ความพยายามของฏอลิบานในการเข้าควบคุมหุบเขา และมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง ฤดูร้อนปีต่อมา มีการถ่ายทำสารคดีของนิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่กองทัพปากีสถานเข้าแทรกแซงในภูมิภาค ยูซาฟไซเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้สัมภาษณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และทางโทรทัศน์ และรับตำแหน่งประธานสภาเด็กเขตสวัด (District Child Assembly Swat) นับแต่นั้น เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศโดยเดสมอนด์ ตูตู และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน

โดยประวัติของ มะลาละห์ ยูซัฟซัย พบว่า วันที่ 9 ตุลาคม 2555 มะลาละห์ ยูซาฟซัยถูกยิงที่ศีรษะและคอในความพยายามลอบสังหารโดยมือปืนฏอลิบานขณะกำลังกลับบ้านบนรถโดยสารประจำทางโรงเรียน หลายวันหลังจากนั้น เธอยังหมดสติและอยู่ในภาวะวิกฤต และจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม เธอถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม ต่อมา ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 มูลนิธิโนเบลได้ประกาศให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับไกลาศ สัตยาธี จากการต่อสู้ของเด็กเพื่อความถูกต้องของการศึกษาในเด็กทั้งหมด ถือเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 17 ปี

  • ระทึก! แผ่นดินไหว กาญจนบุรี บ้านเรือนสั่นสะเทือน ทำประชาชนตื่น
  • ฤกษ์ใหม่ มาแน่! เศรษฐา เตรียมนอนทำเนียบ แย้มข่าวดี ให้สื่อตาม
  • ผลสำรวจ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ประชาชน OK หรือไม่?

การเป็นบล็อกเกอร์ของ BBC ในช่วงปลายปี 2008 Aamer Ahmed Khan จากเว็บไซต์ บีบีซีอูรดู และเพื่อนร่วมงานของเขาได้คิดค้นวิธีใหม่ในทำข่าวของกลุ่มตอลิบานในเมืองสวาท ซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โดยในขณะนั้น มุลลาห์ ฟาซลุลลาห์ เป็นผู้นำกลุ่มก่อการร้ายตอลิบาน ได้ยึดครองหุบเขาสวาท และออกคำสั่งห้ามการดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การศึกษาของเด็กผู้หญิง และการไปออกไปซื้อของของผู้หญิง นักข่าวจากบีบีซีจึงตัดสินใจขอให้เด็กนักเรียนหญิงทำบล็อกเกี่ยวกับชืวิตของเธอโดยไม่ระบุชื่อ อับดุล ไห่ คาการ์ ผู้สื่อข่าวในเปศวาร์ ติดต่อกับ ไซอุดดิน ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นครูโรงเรียนในท้องถิ่น แต่ไม่สามารถหานักเรียนที่เต็มใจทำเช่นนั้น แม้ว่าในตอนแรกเด็กสาวชื่อไอชา ตกลงที่จะเขียนไดอารี่ แต่หพ่อแม่ของเธอห้ามไม่ให้ทำเพราะกลัวการตอบโต้ของตอลิบาน จนสุดท้าย ไซอุดดิน แนะนำมะลาละห์ ลูกสาวของเขา ซึ่งในขณะนั้นอายุ 11 ปี และเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

มะลาละห์ ยูซัฟซัย (2)

ประวัติวัยเด็กของ มะลาละห์ ยูซัฟซัย

ยูซาฟไซ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ใน เขตสวาท ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาเธอเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง และเป็นลูกสาวของนายไซอุดดิน ยูซาฟไซ และ Tor Pekai Yousafzai ครอบครัวของเธอมีเชื้อสายปาทาน และนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี ครอบครัวของเธอไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการคลอดที่โรงพยาบาลและทำให้ยูซาฟไซเกิดที่บ้านด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน ชื่อแรกของเธอมะลาละห์ (หมายถึง “ความเศร้าโศกเสียใจ”) ถูกตั้งตาม มาลาไล แห่งไมวันด์ (Malalai of Maiwand) ซึ่งเป็นกวีชาวปาทานผู้มีชื่อเสียงจากและเป็นนักรบหญิงจากทางใต้ของอัฟกานิสถาน ส่วนนามสกุลของเธอคือ ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าปาทาน (Pashtun) ขนาดใหญ่ในหุบเขาสวาทของปากีสถาน มาลาละห์อาศัยอยู่ที่บ้านของเธอในเมืองมินโกร่ากับน้องชายสองคนของเธอ (Khushal และ Atal) พ่อแม่ของเธอ และไก่สองตัว
ยูซาฟไซสามารถพูด ภาษาปาทาน ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อของเธอซึ่งเป็นทั้งกวี เจ้าของโรงเรียน และนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา เป็นคนสอนหนังสือให้เธอ ในการให้สัมภาษณ์ยูซาฟไซ เคยกล่าวไว้ว่าเธอปรารถนาที่จะเป็นหมอ แต่ต่อมาพ่อของเธอสนับสนุนให้เธอกลายเป็นนักการเมืองแทน โดยนายไซอุดดินพูดถึงลูกสาวของเขาว่า เธอเป็นคนที่พิเศษ เพราะสามารถพูดคุยเรื่องการเมืองได้ทั้งคืน หลังจากที่พี่ชายทั้งสองคนเข้านอนแล้ว
ยูซาฟไซเริ่มพูดเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2008 หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจากมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ และ นายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโต เมื่อพ่อของเธอพาเธอไปเมืองเปศวาร์ เพื่อพูดที่ชมรมสื่อท้องถิ่น เธอกล่าวว่า “ตอลิบานกล้าเอาสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานของฉันไปได้อย่างไร” ซึ่งคำพูดของเธอถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และช่องโทรทัศน์ทั่วทั้งภูมิภาค ในปี 2009 ยูซาฟไซเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฝึกหัดและเป็นนักการศึกษาใน สถาบันการรายงานสงครามและสันติภาพ ของโครงการเยาวชนเปิดใจของปากีสถานในโรงเรียนในภูมิภาคเพื่อช่วยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมผ่านสื่อ การอภิปรายสาธารณะ และการสนทนา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ