มติออกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ปมเสนอชื่อ พิธา โหวตนายก ซ้ำ

Home » มติออกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ปมเสนอชื่อ พิธา โหวตนายก ซ้ำ

ศาลรัฐธรรมนูญ

ด่วน! มติ ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณี เสนอชื่อ พิธา พรรคก้าวไกล โหวตนายกรัฐมนตรี ซ้ำ จับตาประชุมสภาเคาะวันโหวต

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ ออกประกาศ ผลการพิจารณา ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ (เรื่องพิจารณาที่ ต. ๒๔/๒๕๖๖) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ว่า กรณีรัฐสภา (ผู้ถูกร้อง) มีมติตีความว่าการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่สอง เป็นญัตติทั่วไป ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีก ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔ ๑ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๒ ข้อเท็จจริงตามคำร้อง

ศาลรัฐธรรมนูญ-1

คำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง และเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากรองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา (ผู้ร้องเรียนที่ ๑) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ชเลธร (ผู้ร้องเรียนที่ ๒) ซึ่งเป็นบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล และนางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และคณะซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งและเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล จำนวน ๑๗ คน (ผู้ร้องเรียนที่กับผู้ร้องเรียนเพิ่มเติมอีก ๑๓ คน ซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยผู้ร้องเรียนทุกคนกล่าวอ้างว่า การที่รัฐสภามีมติดังกล่าวละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนทุกคน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรคสอง มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๕ วรรคสาม และมาตรา ๒๗ และขอให้กำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญโดยให้มีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

  • ‘แพรี่ ไพรวัลย์’ เตือนใจสายมู กรณี ‘ครูกายแก้ว’ ชี้ ไหว้ได้แต่อย่าเลอะเทอะ
  • คดีพลิก กระบะชนโรลส์รอยซ์ เจ้าของรถหรูจ่อเรียกค่าเสียหาย
  • แฉเพื่อชาติ ซัดกลับ เศรษฐา ลั่น โจรใส่สูทปล้น ให้กู้ 1,000 ล้านผิดคน

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจากการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจรัฐ แต่บุคคลที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง สำหรับกระบวนการได้มา ซึ่งนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๒ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอและเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตาม มาตรา ๘๘ เท่านั้น ดังนั้น ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ ตามมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

ศาลรัฐธรรมนูญ-2-1

ก่อตั้งขึ้นเป็นหลักการใหม่ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวด ๓ เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อไว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อต่อรัฐสภา ผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๓ ได้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ