“ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้การทำงานของสมองแย่ลง และเป็นโรคประสาทเร็วขึ้น

Home » “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้การทำงานของสมองแย่ลง และเป็นโรคประสาทเร็วขึ้น
ภาวะโลกร้อน ทำลายสมอง-min

“ภาวะโลกร้อน” ไม่ได้ทำลายเพียงธรรมชาติเท่านั้น ในปัจจุบัน “โลกร้อน” กำลังทำลายสมองของคน และกระตุ้นปัญหาทางระบบประสาท

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโรคทางระบบประสาทและสุขภาพจิต งานวิจัยจาก University College London ที่เผยแพร่ออกมา ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิที่รุนแรงและภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อโรคทางระบบประสาทและสุขภาพจิตที่สำคัญ โดยนักวิจัยพบว่า “ปัจจัยแวดล้อมไม่เพียงส่งผลต่อการแพร่หลายของโรคเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น และมีคนป่วยเป็นโรคเพิ่มขึ้น ทุพพลภาพ และแม้กระทั่งการเสียชีวิต”

  • “วิธีป้องกันยุง” ที่ปลอดภัยกับลูกน้อย หากใช้ผิดเสี่ยงอันตรายต่อผิวหนัง
  • เปิดสถิติ เที่ยวบินสิงคโปร์ – ลอนดอน ตกหลุมอากาศ 3 ครั้ง ในเวลา 10 ปี
  • HOW TO เก็บอาหารช่วงหน้าร้อนยังไงไม่ให้บูด!

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบประสาท : ร้อนร้าย สมองรวน

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพนั้นเป็นที่ทราบกันดี โดยเฉพาะกับโรคติดเชื้อและระบบทางเดินหายใจ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพทางระบบประสาทอีกด้วย ผ่านกลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่แปรปรวน เมื่อร่างกายเผชิญกับความร้อนจัด กลไกนี้จะทำงานหนักเกินไป ส่งผลต่อระบบประสาทและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคลมชัก และภาวะซึมเศร้า

ดังนั้น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันโรคติดต่อ แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพทางระบบประสาทด้วย

แนวทางป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงความร้อนจัด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารและประกาศเตือนภัยจากภาครัฐ

เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นสมองของเราตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบ และความเสื่อมในรูปแบบอื่นๆ ทำให้การรับรู้ลดลง และผู้ป่วยจะมีอายุลดลงเรื่อยๆ คาดว่าภายในปี 2050 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และลมบ้าหมูเพิ่มขึ้นจนมากกว่า 150 ล้านคน

สมองของเรามีหน้าที่จัดการกับความสมดุลสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญ เมื่ออุณหภูมิ และความชื้นที่สูงขึ้น ร่างกายของเราจะส่งสัญญาณ เช่น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นให้เหงื่อออก และบอกให้เราย้ายออกจากแสงแดด และไปอยู่ในที่ร่ม

“สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม หากสมองมีความผิดปรกติ สมองจะควบคุมอุณหภูมิได้แย่ลง และจะยิ่งชัดเจนเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น” ซานเจย์ ซิโซดิยา ศาสตราจารย์จากสถาบันประสาทวิทยา UCL Queen Square ผู้นำการวิจัย กล่าว

beautiful-landscape-cityscape-seoul-city-min

โลกร้อนทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ

เมื่อสภาพอากาศเริ่มรุนแรงมากขึ้น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับการดูแลประชากรกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด กลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุ

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้ตรวจสอบรายงาน 332 ฉบับ โดยพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสภาวะทางระบบประสาท 19 ประการ  รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อมในรูปแบบอื่นๆ ไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อีกทั้งนักวิจัยยังรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และโรคจิตเภท เนื่องจากความผิดปกติทางจิตเวชมักเกี่ยวข้องโรคทางระบบประสาทบ่อยครั้ง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ตอนกลางคืนมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมูมีอาการแย่ลงจากการอดนอน

3d-render-medical-image-male-figure-with-brain-highlighted-min

โลกร้อนกระตุ้นปัญหาสุขภาพจิต

อุบัติการณ์ความผิดปกติด้านสุขภาพจิต และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมีความสัมพันธ์อย่างมากกับอุณหภูมิแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น รายงานฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการเรียกร้องค่าประกันสุขภาพของสหรัฐจากการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉิน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ระหว่างปี 2010-2019 เพิ่มขึ้นในวันที่อากาศร้อนจัด 

นอกจากนี้ภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ ไฟป่า คลื่นความร้อน น้ำท่วม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการวิตกกังวล ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตาย

เบอร์ซิน อิคิซ ​​นักประสาทวิทยาที่ศึกษาผลกระทบของรูปแบบสิ่งแวดล้อมในสมองกล่าวว่า เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นสมองของเราตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบ และความเสื่อมในรูปแบบอื่นๆ ทำให้การรับรู้ลดลง

สิ่งที่ทำให้ฉันกลัวมากที่สุดเกี่ยวกับสถานการณ์นี้คือ ภายในปี 2050 ผู้คนจะมีความผิดปกติทางระบบประสาทเพิ่มมากขึ้น และคนที่ป่วยจะมีอายุลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ 40-50 ปี แทนที่จะเป็น 70-80 ปี เพราะสมองของเราถูกโจมตีด้วยความเครียดที่แตกต่างกัน เช่น ความร้อน มลภาวะ และไมโครพลาสติก

ผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาท และจิตเวชที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกมีจำนวนมาก โดยคาดว่าภายในปี 2050 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และลมบ้าหมูเพิ่มขึ้นจนมากกว่า 150 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สอง และเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการทั่วโลก

ในขณะที่โลกเผชิญกับความร้อนระอุในฤดูร้อนที่ทำลายสถิติอีกรอบ ผู้คนก็สามารถดำเนินการเพื่อป้องกันความร้อนจัดได้เช่นกัน เช่น การอยู่ในที่ร่มระหว่างวัน ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้ง ปิดหน้าต่างหรือบานประตูหน้าต่าง ใช้สิ่งของเพื่อให้เย็น และชุ่มชื้น และเก็บยาไว้ใกล้ตัว

แต่วิธีจะลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดี และได้ผลมากที่สุด คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล หยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอากาศ

janschwalde-power-plant-germany-min

ที่มา bloomberg.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ