ภาพประวัติศาสตร์! วางเรือหลวง 2 ลำใต้ทะเลเกาะเต่า เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งดำน้ำใต้ทะเล

Home » ภาพประวัติศาสตร์! วางเรือหลวง 2 ลำใต้ทะเลเกาะเต่า เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งดำน้ำใต้ทะเล
ภาพประวัติศาสตร์! วางเรือหลวง 2 ลำใต้ทะเลเกาะเต่า เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งดำน้ำใต้ทะเล

วันที่ 8 ก.ย.2566 ชาวเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ร่วมกันบันทึกภาพประวัติศาสตร์ นำเรือหลวงจำนวน 2 ลำ คือเรือหลวง สู้ไพรินทร์ 313 และเรือหลวง หาญหักศัตรู 312 ซึ่งเรือทั้ง 2 ลำ เป็นเรือที่ปลดประจำการแล้ว ที่ทางเกาะเต่าได้รับมอบจากกองทัพเรือ นำมาจัดวาง จมลงใต้ท้องทะเล เป็นอุทยานแห่งเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแห่งใหม่ของเกาะสมุย ร่วมถึงเป็นจุดดำน้ำแห่งใหม่ของเกาะเต่า

โดยในช่วงเช้าของวันที่ 7 ก.ย.2566 ที่ผ่านมา พลเรือโท  จรัสเกียรติ  ไชยพันธุ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 พร้อมด้วยนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  นางสาวพรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  นางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเกาะเต่า เทศบาลตำบลเกาะเต่า องค์กรภาครัฐ ร่วมทั้งผู้ประกอบการ และประชาชนบนเกาะเต่า ร่วมกันประกอบพิธีจัดวางเรือหลวง  สู้ไพรินทร์ และเรือหลวงหาญหักศัครู  ซึ่งปฎิบัติภารกิจในท้องทะเลมากว่า 47 ปี  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลพื้นที่เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี

dsc06732
img_5151

โดยในช่วงเช้ามีพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมเด็จ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บริเวณลานหินหน้าหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระขุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ตั้งอยู่หาดทรายรี ตำบลเกาะเต่า โดยมี พลเรือโท จรัสเกียรติ  ไชยพันธุ์ ผู้บัญการทัพเรือภาคที่ 2 เป็นประธานพิธี  โดยหลังประกอบพิธี พลเรือโท จรัสเกียรติ ไชยพันธุ์ พร้อมคณะได้เดินทางไปขึ้นเรือหลวงปัตตานี ที่จอดลอยลำอยู่ทางทิสใต้ของเกาะนางยวน เพื่อประกอบพิธีวางพวงมา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะเริ่มมีการปล่อยน้ำเข้าเรือหลวง สู้ไพรินทร์  ซึ่งเป็นเรือลำแรกในจำนวน 2 ลำ ที่ได้จัดวางนำลงสู้ก้นทะเล  บริเวณทางทิศใต้ของเกาะนางยวน  เพื่อจะเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล และเป็นจะดำน้ำแห่งใหม่ของเกาะเต่า  โดยภาพวินาทีที่เหลือหลวง สู้ไพรินทร์ เริ่มจมลงสู้ก้นทะเลที่มีความลึกเกือบ 20 เมตร  ถือเป็นภาพวินาทีประวัติศาสตร์ ที่สร้างประทับให้กับชาวเกาะเต่า และทุกๆภาคส่วนที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ขณะเดี่ยวกันในวันที่ 8 ก.ย.2566 ก็จะมีการทำพิธีจัดวางเรือหลวง หาญหักศัตรู  ณ.บริเวณฝั่งตะวันออของเกาะเต่า หรืออ่าวเมา ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะเป็นแหล่งนำน้ำและอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า  ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องขอขอบตุณกองทัพเรือ มอบเรือหลวงหาญหักศัตรู และเรือหลวงสู้ไพรินทร์ จำนวน 2 ลำที่ปลดประจำการแล้ว เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแห่งที่ 2 และแห่งที่ 3 ของเกาะเต่า ซึ่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว ในพื้นที่เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน

270194
dsc06725

นายวิชวุทย์ กล่าวว่า  ซึ่งก่อนนี้ทางกองทัพเรือ ได้มอบเรือหลวงสัตกูด ให้เป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแห่งที่ 1 เกาะเต่า เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2554 โดยเรือหลวงสัตกูด ได้นำไปวางไว้ใกล้กองหินขาว ด้านทิศตะวันตก ของเกาะเต่า ปัจจุบันเป็นจุดดำน้ำสำคัญของ เกาะเต่า และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์เกาะติดจำนวนมาก เช่น ปะการัง เห็ดทะเล ดอกไม้ทะเล กัลปังหา ปะการังดำ และในโอกาสนี้ทางกองทัพเรือ ได้มอบเรือหลวงอีกจำนวน 2 ลำ ให้เป็นให้เป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล และจะเป็นจุดนำน้ำที่สำคัญของเกาะเต่า ที่นักดำน้ำทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต้องเดินทางมาดำน้ำในจุดนี้  และจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวต่อไป โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาดำน้ำดูความสวยงานใต้ทะเลเกาะเต่ากันเป็นจำนวนมาก สร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก

ด้าน นางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า กล่าวว่า เกาะเต่า เป็นเกาะท่องเที่ยวหลัก 1 ใน 3 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็น แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลยอดนิยมที่มีศักยภาพสูงมีชื่อเสียงติด 1 ใน 10 ของโลก รวมทั้งเป็นห้องเรียนใต้ทะเล(สอนดำน้ำ) สำคัญของเอเชียและ อันดับต้นของโลก ด้วยสภาพทรัพยากร ธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนปีละเกือบ 1 ล้านคน ร้อยละ 90 เป็นชาวต่างประเทศ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละ 5,000ล้านบาท  และครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านดำน้ำ สถาบันสอนดำน้ำ ชมรม และผู้ประกอบการชาวเกาะเต่า กว่า 64  แห่ง ได้ร่วมใจสนับสนุนโครงการ อุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเกาะเต่า จำนวน 8,607,000 บาท ดำเนินการให้มีอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลจากเรือหลวงเป็นแห่งที่ 2 และ 3 จะส่งผลเกิดแหล่งปะการัง แหล่งสัตว์น้ำ และจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ใต้ทะเลแห่งใหม่อีกด้วย.

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ