ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง “แมลงวางไข่-ล่าไข่” ในเนื้อเยื่อใบไม้

Home » ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง “แมลงวางไข่-ล่าไข่” ในเนื้อเยื่อใบไม้


ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง “แมลงวางไข่-ล่าไข่” ในเนื้อเยื่อใบไม้

ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง แมลงวางไข่-ล่าไข่ ในเนื้อเยื่อใบไม้

ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี – ซินหัว รายงานการค้นพบของคณะนักวิทยาศาสตร์จีน หลังเปิดเผยว่าพบปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบน ซากฟอสซิลพืช จากภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นปรากฏการณ์แมลงที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 200 ล้านปีก่อนวางไข่บนใบไม้ และมีแมลงชนิดอื่นๆ มากินไข่เหล่านี้

พฤติกรรม “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช” (endophytic oviposition) แสดงถึงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช

ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี

This undated combo photo shows fossils of insect eggs under the microscope. Scientists have unveiled a phenomenon from plant fossils in southwest China — insects living some 200 million years ago laid eggs in leaves, and other insects ate these eggs. Their findings were published online in the journal Current Biology. (Photo by Feng Zhuo/Xinhua)

นายเฝิง จัว นักวิทยาศาสตร์ และคณะทำงานจากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยยูนนาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ

นายเฝิงกล่าวอีกว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ

“การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” นายเฝิงระบุ

ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี

This diagram shows insect eggs laid in leaves being eaten by other insects some 200 million years ago. The endophytic oviposition behavior, which refers to the insertion of eggs into plant tissue, represents a sophisticated reproductive strategy of insects. This process occurs by employing a specialized egg-laying device that effectively protects eggs through plant tissue concealment. (Xinhua)

ฟอสซิลพืช 200 ล้านปี

This undated combo photo shows plant fossils where insects laid eggs. From the holes in the eggs, researchers discovered that the egg fluid was taken by other insects, Feng said. He added that egg fluid has nourishing content and that finding these eggs “hidden” in leaves meant those insects had a special olfactory or visual nervous system. (Photo by Feng Zhuo/Xinhua)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • ตะลึง! จีนพบฟอสซิลอายุ 6 ล้านปี ช่วยไขปมนิ้วที่ 6 ของหมีแพนด้า
  • คณะนักวิทย์จีนพบ “ฟอสซิลดอกไม้” ฝังในอำพันเก่าแก่ 100 ล้านปี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ