พ่อแม่ฟังทางนี้! เด็กกลืน "ถ่าน" แพทย์แนะป้อน "น้ำผึ้ง" ระหว่างทางมา รพ. ช่วยรักษาชีวิตได้

Home » พ่อแม่ฟังทางนี้! เด็กกลืน "ถ่าน" แพทย์แนะป้อน "น้ำผึ้ง" ระหว่างทางมา รพ. ช่วยรักษาชีวิตได้
พ่อแม่ฟังทางนี้! เด็กกลืน "ถ่าน" แพทย์แนะป้อน "น้ำผึ้ง" ระหว่างทางมา รพ. ช่วยรักษาชีวิตได้

พ่อแม่ฟังทางนี้! แพทย์เจอเคสเด็กกลืน “ถ่านกระดุม” แนะนำควรป้อน “น้ำผึ้ง” ระหว่างทางมาส่ง รพ. ช่วยรักษาชีวิตได้

เด็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็น และชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก ดังนั้นจึงมักกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่นเคสเด็กกลืนถ่านกระดุมเข้าไป ส่งผลให้ลำไส้ แต่โชคดีที่ผ่าตัดช่วยชีวิตได้สำเร็จ แพทย์แนะนำให้ดื่ม “น้ำผึ้ง” ระหว่างทางมากโรงพยาบาล

ตามรายงานของเว็บไซต์ ctwant  “เหวิน ซีหัว” แพทย์แผนกฉุกเฉินชาวจีน เปิดเผยผ่านทางเฟซบุ๊ก 急診柯南.翁梓華醫師 เล่าว่า ครั้งหนึ่งเขาเข้าเวรและพบเด็กชาย 7 ขวบถูกพามาส่งห้องฉุกเฉิน ต้องสงสัยว่ากลืน “ถ่านแบบกระดุม” เข้าไป ส่งผลให้เจ็บท้อง เหงื่อออก และอาการอื่นๆ เขาจึงรีบส่งไปตรวจเอ็กซ์เรย์ทันที ก่อนได้รับยืนยันว่าเด็กกลืนก้อนถ่านกระดุมเข้าไปจริงๆ ก้อนถ่ายดังกล่าวส่งผลให้ลำไส้ทะลุ โชคดีหลังการผ่าตัดสัญญาณชีพของเด็กก็กลับมาคงที่ และฟื้นตัวจนล่าสุดสามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว

โดยถ่านแบบกระดุมมีลักษณะคล้ายกับเหรียญ สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ของเล่นเด็ก กล้อง รีโมทคอนโทรล และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งมีเคสเด็กหลายคนกลืนเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่ได้ถูกนำออกมาโดยเร็วที่สุด ร่างกายมนุษย์ที่ทำความร้อนได้ก็จะส่งผลให้ ถ่านอัลคาไลน์เกิดการรัดวงจรก็จะเกิดความร้อน รวมทั้งสารเคมีรั่วไหลออกมา  “การปล่อยอัลคาไลน์ออกจากแคโทดอย่างต่อเนื่อง”  ส่งผลให้ระบบภายในร่างกายเสียหาย และการตายของเนื้อเยื่อผนังลำไส้อย่างต่อเนื่องอาจทำให้ลำไส้แตก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง

แพทย์ยังเน้นย้ำด้วยว่า “การป้องกันดีกว่าการรักษา” ดังนั้น การเก็บถ่านกระดุมให้ห่างจากเด็กเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการกลืนเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ โดยสามารถวางแบตเตอรี่ให้อยู่ในที่สูงและพ้นมือเด็ก ทั้งนี้ หากเด็กกลืนเข้าไปแล้ว และต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะถูกส่งมาถึงห้องฉุกเฉิน แนะนำว่าให้เด็กดื่ม “น้ำผึ้ง” ก่อน จะช่วยบรรเทาเวลาที่ถ่านปล่อยสารอัลคาไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรป้อนน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา (ประมาณ 10 มล.) ทุกครั้ง 10 นาที 6 ครั้งติดต่อกัน เพื่อจะได้มีเวลาปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ