‘พิธา ก้าวไกล’ ได้แล้ว 5 เสียง เผยโฉมหน้า ส.ว. ที่พร้อมยกมือโหวตให้

Home » ‘พิธา ก้าวไกล’ ได้แล้ว 5 เสียง เผยโฉมหน้า ส.ว. ที่พร้อมยกมือโหวตให้

สว-5-เสียง

เผยโฉมหน้า ส.ว. 5 เสียงจาก 250 เสียง ที่พร้อมยกมือโหวตให้ พิธา พรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ตามเสียงข้างมากของ ปชช.

เรียกได้ว่าหลังจากการ เลือกตั้ง 2566 ผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา ผลคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ นั้นออกมาสรุปแล้วว่า พรรคการเมืองรุ่นใหม่อย่าง พรรคก้าวไกล ที่นำทีมโดย ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายก 1 เดียวของพรรค สามารถคว้าคะแนนเสียงจากพี่น้องประชาชนอย่างท้วมท้นจนสามารถแลนด์สไลด์ได้ในหลายจังหวัด

โดยขั้นตอนต่อไป นั้นคือการจับมือกับพรรคขั้วรัฐบาล แน่นอนว่า เมื่อพรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่ได้คะแนนเยอะสุดจึงกลายเป็นพรรคที่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดย พิธา นั้นได้ออกมาแถลงข่าวต่อหน้าสื่อไปแล้วพร้อมประกาศจับมือกับ 5 พรรคฝ่ายค้านเก่า และพรรคน้องใหม่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ประกอบด้วย เพื่อไทย – ประชาชาติ – ไทยสร้างไทย – เสรีรวมไทย – เป็นธรรม – พลังสังคมใหม่ รวม 311 เสียง

แต่เส้นทางกลับไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เมื่อ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลและเลือก นายกรัฐมนตรี ที่อาจทำให้ นายพิธา อาจไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะจากที่สื่อหลายสำนักได้รายงานไปแล้วนั้น มี ส.ว. หลายท่านที่เปิดเผยความรู้สึกว่า อาจจะไม่ลงคะแนนให้กับพิธา เพราะมีความเห็นด้านนโยบายไม่ตรงกันในบ้างข้อ

  • อึ้ง! เงินเดือน ส.ว. 250 เสียง รับจุก-สวัสดิการแน่น สังคมถาม ทำอะไรบ้าง?
  • รังสิมันต์โรม ฟาด! ถ้า สว. คนไหนแทงสวน ปชช. มันผู้นั้นไม่มีแผ่นดินอยู่
  • สว. เคลื่อนไหวแล้ว! หลัง พรรคก้าวไกล ชนะเลือกตั้ง 2566 อันดับ 1

แต่ในขณะเดียวกันนั้น ก็มี ส.ว. บางท่านที่ออกมาเปิดจดหมายถึงประชาชนแล้ว เช่นกัน ว่ายินยอมและเต็มใจที่จะยกมือโหวตให้ พรรคก้าวไกล เป็นรัฐบาล และให้ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นั่งเก้าอี้นายกคนที่ 30 โดย มี 5 ท่านดังนี้

  • 1.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
  • 2.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
  • 3.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
  • 4.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
  • 5.นายอำพล จินดาวัฒนะ

ส.ว. มีหน้าที่อะไร

ส.ว. มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาโดยไม่มีการลงมติ และมีหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ยังได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะอีกหลายประการ คือ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่างๆ

ประชุมสภา-1

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ