วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 จากกรณีเหตุเด็กช่างกลใช้อาวุธปืนยิงกัน ทำให้กระสุนพลาดไปถูกครูสอนคอมพิวเตอร์โรงเรียนแห่งหนึ่งเสียชีวิต นายพายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงประเด็นข้างต้นว่า มุมมองส่วนตัว : ความสูญเสียของชีวิตจากอาวุธปืนในประเทศไทย เริ่มเกิดขึ้นในอัตราที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ แทบทุกปี ซึ่งปัญหานั้นเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเพราะการสามารถเข้าถึงปืนเถื่อนที่ง่ายขึ้น การนำปืนพร็อพ (prop gun) มาดัดแปลงเพื่อขายผู้เยาว์ รวมไปถึงปัญหาของ mental health ในสังคมที่ไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร
แต่ปัญหาสำคัญที่สุดในวันนี้คือการขาดการใส่ใจในการ “ปฎิรูป” กฎหมายการครอบครองปืนโดยผู้มีอำนาจแทนการแก้ไขแบบ “อุดรู” เป็นครั้งๆไปทุกครั้งที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมจากอาวุธเกิดขึ้น ซึ่งทุกคนก็จะ “ตื่นตัว” อยู่พักหนึ่งตามกระแสและก็จะเงียบหายไปจนกว่าจะมีกรณีใหม่ ทำให้กลายเป็นวัฏจักรที่สังคมนั้น “คุ้นชิน” ไปแล้ว.. แต่ไม่ควรที่จะถูกเมินเฉย ฝ่ายร่างกฎหมายและฝ่ายบังคับใช้กฎหมายจะต้องทำงานควบคู่ไปด้วยกันเพื่อให้มีกฎหมายการครอบครองปืนที่บังคับใช้และปฎิบัติได้จริง
- แจ้งข่าวประชาชน ฝากเงินผ่านตู้อัตโนมัติ ต้องแสดงตน เริ่มบังคับใช้แล้ว
- ชาวเน็ตขุดโพสต์ ภูมิธรรม เพื่อไทย เคยซัด ลุงตู่ ทำเป็นแต่ กู้มาแจก
- เพิ่มค่าหัว เสี่ยแป้ง นาโหนด 1 ล้าน เชื่อยังซ่อนตัวอยู่บนเขาบรรทัด
เดือนนี้ ครบรอบ 14 ปี การจากไปของคุณแม่ผม ที่ตกเป็นเหยื่อของปืนเถื่อน ที่มือปืนนำมาใช้ในการลอบสังหารท่าน จึงทำให้การสอบสวนหาคนกระทำผิดนั้นหยุดชะงัก และไม่สามารถสืบสวนต่อได้ ผมถึงทราบดีถึงปัญหานี้ ทุก ๆ ปีที่ผ่านไปผมก็หวังว่าในที่สุดจะมีกฎหมายที่สามารถป้องกันให้เหตุการทำนองนี้นั้นไม่เกิดขึ้นกับผู้อื่น “แต่สุดท้ายก็ผิดหวังเช่นเดิม”
ทั้งนี้ นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย เหตุการณ์ความรุนแรงจากอาวุธปืนเกิดขึ้นถี่มาก แสดงให้เห็นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐออกมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนแบบเร่งด่วนไม่ได้ผลโดยสิ้นเชิง จึงอยากให้ภาครัฐเร่งทบทวนทุกมาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน ไม่ว่าจะเป็นปืนที่ถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย หรือสิ่งเทียมอาวุธปืน รวมถึงแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบัน เหตุการณ์ล่าสุดนี้ ผู้เสียชีวิตเป็นครูมีหน้าที่สร้างอนาคตของชาติ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเหตุรุนแรง และเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่และทุกเวลา