พวกขี้เม้าต้องระวัง! นินทาแบบไหน เข้าข่ายผิดกฎหมายโดนฟ้องได้

Home » พวกขี้เม้าต้องระวัง! นินทาแบบไหน เข้าข่ายผิดกฎหมายโดนฟ้องได้

นินทาผิดกฎหมาย-min

นินทาแต่พอดี พวกขี้เม้าต้องระวัง! นินทาแบบไหนถึงเข้าข่ายผิดกฎหมาย หมิ่นประมาท และควรนินทาแค่ไหนถึงไม่ถูกฟ้อง

ไหนๆใครขี้เม้าฟังทางนี้! ก่อนอื่นต้องบอกว่า การนินทาหรือถูกนินทา นั้นเรียกว่าเป็นอนิจจัง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก นั้นก็มักจะถูกนินทาหรือถูกพูดถึงเสมอๆ ซึ่งหลายๆคนที่เม้ามอยทั่วไป ก็คงไม่มีผลกระทบอะไรเยอะ อาจจะแค่พูดถึงสนุกๆ แต่บางคนที่นินทาว่าร้าย จนส่งผลเสียให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนถึงทรัพย์สินและชีวิต หรือแม้แต่ได้รับความเข้าใจผิดในวงกว้าง รู้หรือไม่ ว่าการนินทาแบบนั้น สามารถถูกฟ้องร้องและเข้าข่ายผิดกฎหมาย-หมิ่นประมาทได้นะจะบอกให้

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่า กฎหมายหมิ่นประมาทนั้นมีอะไรบ้าง การหมิ่นประมาทมีได้ 2 กรณี คือ การหมิ่นประมาทแบบธรรมดา และการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา การหมิ่นประมาทแบบธรรมดา เป็นการหมิ่นประมาทโดยใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม มีลักษณะเป็นการใส่ความแบบตัวต่อตัว หรือเพียงกลุ่มคนเท่านั้น ไม่ใช่การป่าวประกาศ การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เป็นการหมิ่นประมาทโดยป่าวประกาศหรือประจานออกไป เช่น การเผยแพร่ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์หรือการหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต

  • ทนายเดชา เผย เด็ก 14 ตามกฎหมายอาญา ชี้ ยิงคนตาย ไม่ต้องรับโทษ
  • โฆษกศาล ยัน ตัดสิทธิ์ช่อ พรรณิการ์ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  • ลุยตรวจค้น 3 จุด บริษัทกฎหมาย โยงจัดทำบัญชีให้ ‘กำนันนก’ ฮั้วประมูล

นินทาแบบไหนเรียกว่า หมิ่นประมาท

  • การกล่าวหาผู้อื่น โดยมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องมีคำหยาบแต่ทำให้คนอื่นเสื่อมเสีย ถูกเกลียดชัง เรียกว่าเป็นการหมิ่นประมาทด้วยวาจา เช่น เธอคนนี้ท้องก่อนแต่ง หรือ เธอคนนี้ทำร้ายคนอื่น เธอคนนี้เป็นคนขโมย
  • ต่อให้ไม่ระบุชื่อ ไม่ได้บอกว่าใคร หรือบอกเพียงตัวย่อ แต่ภาพรวมดูออกว่าคือใคร หรือบุคคลทั่วไปอ่านแล้วรู้แน่นอนว่าหมายถึงใคร ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้ แต่ต้องไปพิสูจน์ในชั้นศาลต่อว่า ข้อความ หรือการพูดดังกล่าวพูดถึงใคร เช่น “หัวหน้างานตัวย่อ ก ชอบวีนลูกน้องในบริษัทจนทำให้ลูกน้องลาออก”
  • การตั้งคำถามโดยไม่สุจริต คือ การตั้งคำถามเพื่อตั้งใจหาเรื่องผู้อื่น หรือการตั้งคำถามแบบรู้คำตอบอยู่แล้ว ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท เช่น เธอแย่งแฟนคนอื่นใช่หรือไม่ (ทั้งๆที่ตนเองก็รู้คำตอบอยู่แล้ว)
  • การเล่าต่อ หรือส่งต่อข้อความที่มีการหมิ่นประมาทบุคคลอื่น ผู้ส่งต่อย่อมมีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย อย่างไรก็ตามหากกระทำการส่งต่อข้อความดังกล่าวเพื่อที่จะบอกหรือเตือนผู้อื่น และสิ่งที่หมิ่นประมาท “เป็นความจริง”  ก็อาจไม่เป็นความผิด ดังนั้นการลงโทษจึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาข้อเท็จจริงและบริบทในการกระทำประกอบ

หากเข้าข่ายหมิ่นประมาท มีโทษอย่างไร

ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท ประกอบด้วย

  • ผู้ใด เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
  • ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม การใส่ความ คือ การทำให้ปรากฏข้อเท็จจริงโดยอาจเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ถ้าหากพูดแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหายก็เป็นความผิด แม้การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคำว่าใส่ความด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใส่ความจึงไม่จำกัดวิธีอาจใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ เช่น การใช้คำพูด ภาพวาด การแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด ใช้ภาษาใบ้ หรือใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงการใช้รูปภาพ
  • โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ในการพิจารณาว่าน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่ พิจารณาตามความรู้ความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป ถ้าวิญญูชนทั่วไปเห็นว่า “น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง”
  • ผู้กระทำต้องมีเจตนา กล่าวคือ เจตนาที่จะใส่ความ หรือเจตนาแสดงข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งพาดพิงไปถึงผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม

นินทาแบบไหนไม่โดนฟ้อง

  • การคาดคะเนหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งมันอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่น อีก 2-3 ปีก็คงท้องก่อนแต่ง
  • การทะเลาะ ด่าทอ โต้เถียงกัน หรือที่เรียกว่า “ต่างคนต่างด่า” ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดร่วมด้วย

ที่มา : https://www.legardy.com

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ