วันที่ 2 ก.พ. ซีเอ็นเอ็น รายงานการค้นพบ กระดูกสันหลังมนุษย์ ที่นำมาเสียบไม้ต้นกกเกือบ 200 ตัวอย่างในเปรู ประเทศในแอฟริกาใต้ เผยให้รู้วิธีการรักษาสภาพร่างกายผู้วายชนม์ที่ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อนในภูมิภาคดังกล่าว
ทีมนักวิจัยนานาชาติที่ทำงานในหุบเขา ชินชา (Chincha) บนชายฝั่งทางใต้ของเปรู พบกระดูกสันหลังมนุษย์เสียบไม้ในหลุมฝังศพชนพื้นเมืองขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ ชูย์ปัส (chullpas) ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปหลายร้อยปีถึงช่วงที่เจ้าอาณานิคมยุโรปยังอยู่ในภูมิภาค
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารโบราณคดี แอนติกควิตี (Antiquity) เมื่อวันอังคารที่ 1 ก.พ. ระบุว่า ในจำนวน กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ทั้งหมด 192 แท่ง นักโบราณคดีพบว่า ในเกือบทุกอัน กระดูกสันหลังมาจากคนๆ เดียวกัน
คณะนักวิจัยกล่าวว่า ผู้ใหญ่และเยาวชนในชุมชนพื้นเมืองได้รับการรักษาสภาพร่างกายหลังเสียชีวิตที่ไม่เหมือนใครนี้ และคิดว่าก ระดูกสันหลังเสียบไม้สร้างขึ้นระหว่างค.ศ. 1450-1650 ช่วงเวลาที่จักรวรรดิอินคาล่มสลาย และการล่าอาณานิคมของยุโรปเริ่มแพร่หลายและครอบงำในเปรู
จาค็อบ แอล. บอนเจอร์ส ผู้นำการเขียนการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นความปั่วป่วนในประวัติศาสตร์หุบเขาชินชา เนื่องจากโรคระบาดและความอดอยากทำลายล้างชาวบ้านในเวลานั้น
ก่อนยุโรปเข้ามาเปรู หุบเขาชินชาเป็นที่ตั้งราชอาณาจักรชินชาตั้งแต่ค.ศ. 1000-1400 และมีการสถาปนาพันธมิตรกับจักรวรรดิอินคาที่ทรงพลังในเวลานั้น แต่แม้ว่าเจ้าอาณานิคมจะเข้ามากวาดล้างภูมิภาคอเมริกาใต้แห่งนี้ ประชากรกลับล้มหายตายจาก โดยจำนวนหัวหน้าครัวเรือน (heads of household) ลดลงจากมากกว่า 30,000 คน ในค.ศ. 1533 เหลือเพียง 979 คน ในค.ศ. 1583
บอนเจอร์ ผู้ร่วมวิจัยอาวุโสโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยอีสแองเกลีย ในสหราชอาณาจักร ยังบันทึกข้อมูลการขโมยหลุมฝังศพหลายร้อยหลุมในภูมิภาคนี้ในการวิจัยครั้งก่อนหน้าที่ว่า
“การปล้นสะดมของชนพื้นเมืองแพร่หลายไปทั่วหุบเขาชินชาในยุคอาณานิคม จุดประสงค์หลักคือเพื่อกำจัดของใช้ที่ทำด้วยทองคำและเงิน และจะเป็นไปพร้อมกับความพยายามของยุโรปในการขจัดการปฏิบัติทางศาสนาชนพื้นเมืองและประเพณีงานศพ”
ผลการวิเคราะห์ กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ชี้ว่า อาจถูกสร้างมาเพื่อบูรณะผู้วายชนม์จากการถูกปล้นสะดมหลุมศพโดยเจ้าอาณานิคมยุโรป และการวัดอายุด้วยเรดิโอคาร์บอนโดยทีมนักวิจัยแสดงให้เห็นการนำ กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ต้นกกที่เกิดขึ้นหลังการฝังศพครั้งแรก
สำหรับชนพื้นเมืองหลายกลุ่มในหุบเขาชินชา ร่างกายสมบูรณ์หลังความตายมีความสำคัญมาก. จากการศึกษาพบว่า ชนพื้นเมืองในภูมิภาคนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้วายชนม์ที่ไม่เหมือนใคร เช่น ชาวชินชอร์รอ ที่พัฒนาเทคนิคที่รู้จักเป็นครั้งแรกสำหรับการทำมัมมีเทียม หลายพันปีก่อนชาวอียิปต์โบราณจะประกอบพิธีฝังศพแบบนี้
นอกจากนี้ กลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ กอบกู้สิ่งที่ทำได้จากร่างกายคนตายที่ถูกทำลายเพื่อสร้างวัตถุทสงพิธีกรรมขึ้นมาใหม่ หลังมัมมี่ในพื้นที่เทือกเขา แอนเดส (Andes) ถูกนักล่าอาณานิคมของยุโรปทำลาย กระดูกสันหลังมนุษย์ เสียบไม้ที่พบในหุบเขาชินชาจึงอาจเป็นความพยายามคล้ายกัน เพื่อบูรณะร่างกายคนตายที่เสียหายหลังถูกปล้นสะดม
“พิธีกรรมมีบทบาทสำคัญในชีวิตทางสังคมและศาสนา แต่สามารถโต้แย้งกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาการพิชิตอาณานิคมต่างๆ ซึ่งจะมีการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ การค้นพบเหล่านี้ตอกย้ำว่า หลุมฝังศพเป็นพื้นที่หนึ่งที่ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร” บอนเจอร์สกล่าว