พบซาก “คลังหลวง” 240 แห่ง เก่าแก่กว่า 1,600 ปี-จากยุคราชวงศ์เว่ยเหนือ
พบซาก “คลังหลวง” – ซินหัว รายงานว่า สถาบันโบราณคดี สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน (ซีเอเอสเอส) เปิดเผยการค้นพบซากคลังหลวง จำนวน 240 แห่ง ภายในพระราชวังที่ “ซากนครหลวงโบราณลั่วหยาง” มณฑลเหอหนาน ทางตอนกลางของ ประเทศจีน
รายงานระบุว่าซากคลังเหล่านี้เคยเป็นคลังหลวงตั้งแต่สมัย “ราชวงศ์เว่ยเหนือ” (ปี 929-1077) ถือเป็นการค้นพบคลังหลวงครั้งแรกบริเวณพระราชวังโบราณในลั่วหยาง
นอกจากนี้ยังเป็นสถาปัตยกรรมคลังโบราณระดับสูงสุดที่พบในจีนนับถึงปัจจุบัน เนื่องจากที่ตั้งในพระราชวังซึ่งกระจัดกระจายครอบคลุมพื้นที่ความกว้างจากตะวันออกสู่ตะวันตก 150 เมตร และความยาวจากเหนือจรดใต้ 600 เมตร
คณะนักโบราณคดีดำเนินการขุดค้นกำแพงฝั่งตะวันออกของพระราชวังในปี 2565 เพื่อสำรวจแผนผังทางสถาปัตยกรรมของพระราชวังเพิ่มเติม โดยนายหลิว เทา ผู้นำคณะขุดค้น กล่าวว่าการค้นพบซากคลังช่วยเพิ่มพูนนัยยะการศึกษารูปร่างและแผนผังของราชธานีโบราณและแหล่งสถาปัตยกรรมคลังอย่างมาก
ทั้งนี้ ซากนครโบราณลั่วหยางตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยางยุคปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 1,500 ปี และเคยเป็นราชธานีของหลายราชวงศ์จีนโบราณนานราว 600 ปี จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- พบซาก “ลานบ้านโบราณ” อายุเก่าแก่กว่า 4,000 ปี-คาดจากยุคราชวงศ์หมิง